นิตยสาร WhO?
เรื่อง สุทธิคุณ กองทอง ภาพ ชวรินทร์ เผงสวัสดิ์,ททท.
เที่ยวไปกับผู้ว่าททท.
“สุรพล เศวตเศรนี” พาตะลุยทั่วไทย...
ด้วยหัวใจและสำนึกเพื่อความยั่งยืน
เที่ยวทั่วไทยอย่างมีสำนึกจะได้ความภูมิใจในการดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยว เป็นการเรียนรู้รากเหง้า วัฒนธรรมเพื่อต่อยอดภูมิปัญญา หากยังไม่มีเส้นทางที่สนใจ จะลองไปเที่ยวตามรอยผู้ว่าฯ ททท. ซึ่งชวนดูนกและสัมผัสกลิ่นไอตลาดวิถีไทย ความสนุกเพลิดเพลินที่สามารถจะเก็บไว้เป็นความทรงจำที่ไม่มีวันลืมเลือน
[Body]
มีโอกาสได้ฟังท่านผู้ว่าฯ สุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คุยให้ฟังถึงแคมเปญ “เที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยั่งยืน” ที่เน้นการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ แบบรักษาคุณค่า ความมั่งคั่งของทรัพยากร ซึ่งจะนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มุ่งปลูกฝังและสร้างกระแสให้การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นเสมือนปัจจัยที่ 5 ที่จะช่วยกระตุ้นให้คนบ้านเราหันมาเที่ยวไทยแบบอนุรักษ์ธรรมชาติ พบกูรูหมายเลข 1 แห่งททท.ทั้งที จึงขอให้ท่านผู้ว่าฯ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเป็นตัวอย่างสักหน่อย เผื่อใครนึกสนุกอยากตามรอยผู้ว่าฯก็เชิญติดตามครับ...
“ตั้งแต่ผมเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการต้องเดินทางแบบว่าเยอะมากเลย (ยิ้ม) ทำให้เป็นคนที่ค่อนข้างจะแม่นเรื่องเส้นทาง และสถานที่ ลงลึกถึงขนาดต้องจดหลักกิโลเมตรเลย ผมเลยชอบทุกภาคของประเทศ แต่ย้อนไปเมื่อ 30 ปีที่แล้วผมจะชอบเที่ยวอีสานมาก เพราะมีธรรมชาติที่สมบูรณ์มากๆ ในตัวของเขาเอง อีสานเขียวมาก มีทรัพยากรการท่องเที่ยวเยอะ สถานที่ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต อาหารกิจกรรมประเพณี ยิ่งมีแม่น้ำโขงก็ยิ่งเป็นเสน่ห์ให้กับชาวอีสาน”
//ตามรอยผู้ว่าฯ เที่ยวชมนก
คุณสุรพลเกริ่นกว้าง ๆ ก่อนจะลงลึกถึงสถานที่และช่วงเวลาที่ควรเที่ยวแต่ละถิ่นตามความชอบส่วนตัว ว่าแต่ไหนแต่ไรเขาเป็นคนชอบท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติแห่งต่าง ๆ ซึ่งกิจกรรมโปรดที่จะพลาดไม่ได้เลยก็คือการ"ดูนก"
"ผมจะไปดูนกเป็นกลุ่มเล็กๆ เคยมีโอกาสเดินทางไปกับคุณพินิจ แสงแก้ว ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านดูนกด้วยนะครับ นอกจากได้เรียนรู้เรื่องนกแล้ว ยังได้ศึกษาธรรมชาติรอบตัวด้วย สาเหตุที่ผมชอบนกก็อาจว่าผมเป็นเด็กผู้ชาย ผมเกิดอยู่ในสวนฝั่งธนได้สัมผัสกับธรรมชาติและพวกนกเหล่านี้เยอะ มีทั้งนก หนู กระรอก มันเป็นสิ่งที่ผูกพันกับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา
"...อย่างเดือนตุลาคมตั้งใจจะเดินทางไปดูเหยี่ยว จ.ชุมพร,เขาเรด้า จ.ประจวบฯ ,ครสวรรค์ ชัยภูมิ ,แหลมผักเบี้ย เป็นป่าโกงกางที่มีนกอยู่เป็นจำนวนมาก และอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เพชรบุรี ที่เป็นมนต์ขลังให้กับผู้ที่มาเยือนได้ความประทับใจ และความสุขกลับไป”
//หลงใหลคลอง-ตลาดเก่า
และนอกจากความสนใจผูกพันในธรรมชาติแล้ว ผู้ว่าฯ ททท. ยังใส่ใจในประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นตามจังหวัดต่างๆ "ผมชอบไปเที่ยวงานประเพณีวัฒนธรรม เพื่อได้เห็นวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นนั้นๆ อย่างภาคใต้ก็ชอบไปเที่ยวปัตตานี นราธิวาส เพื่อไปดูวัฒนธรรมมุสลิม เลยไปเบตงก็จะเป็นวัฒนธรรมจีน มีสิ่งปลูกสร้างแบบจีนชนบท มีอาหารที่อร่อย แล้วยังมีพญานกน้ำที่พัทลุง ถ้าผมไปพักผ่อนกับครอบครัวที่ยังประทับใจก็จะเป็นเขาเต่า เพราะญาติมีบ้านพักตากอากาศอยู่ที่นั่น สมัยนั้นที่เขาเต่ายังมีคนนอกที่ไปสร้างบ้านอยู่กันนั้นน้อยมากไม่เกินสามครอบครัว แล้วทุกปีสมัยนั้นยังได้เข้าเฝ้าในหลวงด้วย”
สมัยก่อนแม้ว่าการบริการยังไม่ค่อยทันสมัยเหมือนสมัยนี้ แต่การได้ท่องเที่ยวได้เข้าไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของเจ้าของพื้นที่แล้วยังได้ชิมอาหารรสเด็ดอีกมากมาย “ผมชอบไปเดินเที่ยวทุ่งไทรน้อย ทุ่งไทรใหญ่ เพราะต้องเดินลัดโขดหินไปมันเลยเป็นอะไรที่ประทับใจ ปัจจุบันก็ยังเที่ยวหัวหินอยู่ แต่ทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงไปเยอะแล้ว(ยิ้ม) เปลี่ยนไปตามกาลเวลา”
อีกกิจกรรมหนึ่งที่ผู้ว่าฯ ททท. ชอบ คือ ท่องเที่ยวทางน้ำ เป็นการนั่งเรือเข้าไปยังซอกคลองเล็กคลองน้อยใหญ่ เริ่มตั้งแต่คลองบางกอกน้อย คลองบางกอกใหญ่ ผ่านวัด ชุมชน แถมมีของฝากเป็นขนมมากมาย “ใช่ครับๆ ถ้าไปทางบางแค คลองมหาสวัสดิ์ ก็เจอสวนกล้วยไม้ แล้วออกไปถึงท่าฉลอม มหาชัย ผมว่ามันเอกลักษณ์ที่ไม่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวคนไทยอย่างเดียว ผมว่าคนต่างชาติก็ชอบ เพราะเป็นเอกลักษณ์ที่หลายประเทศไม่มี เป็นการลัดเลาะริมคลองได้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย
"อย่างเราล่องเรือผ่านไปชาวบ้านก็จะโบกไม้โบกมือ มันเป็นวิถีชีวิตของเราที่วันๆหนึ่งต้องเจอนักท่องเที่ยวแบบนี้ตั้งเท่าไหร่ ซึ่งเขาไม่ได้แกล้งทำแน่ ถ้าแกล้งทำคงทำไม่ได้มันเหนื่อยตาย(ยิ้ม) แล้วก็ไม่มีใครมากะเกณฑ์ให้ทำ คนไม่มีใจให้เราก็คงไม่โบกหน้าตายิ้มแย้ม มันเลยเป็นเสน่ห์ให้กับชุมชนนั้นๆ ผมไม่ค่อยชอบเที่ยวทุกอย่างต้องดูหรูหรา แต่ของผมชอบเที่ยวแบบเรียบง่าย สบายๆ ถอดรองเท้าเดินได้สัมผัสกับโคลนก็จะได้รับพลังงานเพื่อให้สมดุลกับร่างกายบ้าง ถ้ายิ่งเป็นตลาดเก่าผมยิ่งชอบ” เขารำลึกความหลังครั้งไปล่องเรือเที่ยวตลาดเก่าด้วยใบหน้าที่มีรอยยิ้มแห่งความประทับใจ
//7 GREENS : ท่องเที่ยวสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
เก็บข้อมูลสไตล์การเที่ยวของผู้ว่าฯสุรพล เรียบร้อย ทำให้ภาพของการท่องเที่ยวอย่างที่ ททท.กำลังรณรงค์อยู่ค่อนข้างจะชัดขึ้นมาก อย่างที่เขาคิดค้นกันขึ้นมาเป็นแคมเปญ “เที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยั่งยืน” ซึ่งแน่นอนว่าเป้าหมายในฝันเช่นนี้ใครก็อยากมีส่วน ว่าแล้วอย่ารอช้ามาดูกันดีกว่าครับว่ามีองค์ประกอบอย่างไรกันบ้าง
1. เที่ยวด้วยใจคิด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2.เที่ยวใกล้-ไกล เลือกใช้(พาหนะ) พลังงานสะอาด 3.จัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยคำนึงถึงความยั่งยืน 4.เที่ยวอย่างรู้ค่า รักษาเอกลักษณ์ชุนชน 5.เลือกกิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6.จัดการธุรกิจ ตระหนักคิด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 7.จิตอาสา พาโลกสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เป็นแนวทางดำเนินการปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคส่วนต่างๆ ตรงนี้จึงเป็นการท่องเที่ยวที่สนุกและมีความสุขในรูปแบบคืนธรรมชาติสู่ผืนโลก คืนความมั่งคั่งสู่ชุมชน ที่กำลังคอยต้อนรับการมาเยือนอย่างเป็นมิตรไมตรี
นอกเหนือจากนี้ ทาง ททท. ยังมีแผนดำเนินการผลักดันให้เกิดพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1.อนุรักษ์ (1.) จังหวัดน่าน เป็นโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยรถท้องถิ่น ปี 2554 กับโครงการนั่งสามล้อ ผ่อเมืองน่าน เปิดตัวโครงการเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2553 ประกอบด้วย 4 เส้นทางหลักคือ นั่งสามล้อ ผ่อเก้าวัด นั่งสามล้อ ผ่อเวียงเก่า นั่งสามล้อ ผ่อพระธาตุ และนั่งสามล้อ ผ่อเขาน้อย
(2.) เมืองเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นโครงการที่ทำกับผู้ประกอบการ และ เจ้าของท้องถิ่น 2.1 โครงการ “ชุมชนรู้รักษ์แหล่งท่องเที่ยว” ซึ่งโครงการดังกล่าว มุ่งเน้นการผลักดันให้ชุมชนรู้จักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนบ้านไม้เก่าโบราณ ถนนชายโขง เชียงคาน
2.2 โครงการ "เจ้าบ้านที่ดีรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว" บรรจุไว้ในแผนตลาด สลย. ปี 2555 เพื่อต่อยอดโครงการ “ชุมชนรู้รักษ์แหล่งท่องเที่ยว”
2.ปกป้อง (3.) เมืองปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นโครงการเที่ยวเหนือใส่ใจ เที่ยวไทยยั่งยืน กิจกรรม “รักษ์ปาย ลดขยะ เพิ่ม (ปลูก) หญ้าแฝก” โดยร่วมกับ ชมรมท่องเที่ยวปาย จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ ชักชวนนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาหน้าดิน อันเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์
(4.) เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นโครงการ Koh Samui Going Green และโครงการรณรงค์คืนมะพร้าวให้เกาะสมุย นักท่องเที่ยวและผู้มาเยี่ยมเยือน ร่วมกันทำให้สมุยมีมะพร้าวนับล้านต้นเป็นเอกลักษณ์ตลอดไป นำไปสู่การเป็นเกาะสีเขียว ( GREEN ISLAND) อย่างยั่งยืน ซึ่ง ททท.ได้ดำเนินการบรรจุกิจกรรมการปลูกมะพร้าวลงไปในโปรแกรมท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว , สื่อมวลชนไทยและต่างชาติ หรือ กิจกรรมนานาชาติที่ดำเนินการในเกาะสมุย โดยได้ขอความร่วมมือสถานประกอบการที่พัก ปลูกมะพร้าว เพื่อคืนภาพความสวยงามของเกาะสมุยที่มีมะพร้าวเรียงรายตลอดชายหาด ดั่งภาพเดิมที่เคยปรากฏในภาพโปสเตอร์ของ ททท. ที่สร้างชื่อเสียงให้เกาะสมุยเป็นที่รู้จักกันของนักท่องเที่ยวทั่วโลกในนาม “ COCONUT ISLAND ”
Don’t Miss
ภาคกลาง
เมืองเก่าเล่าประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ในโครงการ “มหัศจรรย์วันเดียว นั่งรถไฟปรับอากาศเที่ยวใกล้กรุงปี 2554” แล้วนั่งสามล้อ ต่อด้วยตุ๊กตุ๊กไปตามวัดต่างๆ
เรียนรู้ธรรมชาติกันที่ สมุทรสงคราม ในพื้นที่เป้าหมาย “วิสาหกิจชุมชนชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองโคลน” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเห็นความสำคัญของป่าชายเลนจึงเสด็จมาปลูกด้วยพระองค์เอง พลิกฟื้นผืนป่าที่ถูกนากุ้งทำลายกลับมาสมบูรณ์ดังเดิมอีกครั้ง นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกิจกรรมแบบวิถีชาวประมงป่าชายเลน ถีบกระดานเลนเก็บหอย ใครไปเยือนลองถีบกระดานเลนกันนะครับ แม้จะเลอะบ้างแต่ให้ความสนุกแบบสุดๆ
แล้วไปตะลุยกันต่อที่เมืองเพชรบุรี สถานที่เรียนรู้ธรรมชาติอันสมบูรณ์ต้องแวะ “โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ” ชมวิธีกำจัดขยะแบบประหยัด การบำบัดน้ำเสียด้วยธรรมชาติ 4 ระบบ เพลิดเพลินกับการดูนกหายาก
ห่างออกไปทางปากอ่าว 3 ก.ม.เพื่อชม “อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร” บริเวณปากอ่าว ศูนย์กลางการเผยแพร่และฝึกอบรมด้านอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม
- ททท. พระนครศรีอยุธยา 0-3524-6076-7
-ททท.สมุทรสงคราม โทร .034-752847-8 หรือ Call Center 1672
ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคลน และโฮมสเตย์ผู้ใหญ่ชงค์ (คลองโคลน) 0-3473-1188, 0-3473-1198 โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 0-3244-1265 อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร 0-3250-8396
ภาคตะวันออก
ที่ ต.ห้วยแร้ง จ.ตราด จะได้สัมผัสชีวิตชุมชนริมคลองที่อยู่กันแบบพอเพียงเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นมาเป็นภาชนะใส่อาหาร ทำสบู่เปลือกมังคุดใช้กันเอง และมีแหล่งพักสายตาน้ำตกลำน้ำห้วยแร้ง 18 แก่ง ซึ่งนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการผจญภัย ต้องไม่พลาด
ต่อด้วย “ชุมชนบ้านสลักคอก เกาะช้าง” ชุมทางประมงพื้นบ้านแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ตื่นเต้นกับการพายเรือคยักชมระบบนิเวศป่าผืนใหญ่สุดของเกาะ
และชมชุมชนบ้านท่าสอน อ.ขลุง ด้วยการไปล่องเรือชมเหยี่ยวแดง ดูวิถีชีวิตชุมชนชาวเล สัมผัสกับหิ่งห้อยยามค่ำคืน ตบท้ายกับพายเรือคายัคชมธรรมชาติป่าชายเลนใครชอบความเร็วมันๆก็ไม่ควรพลาดเช่นกัน
-ททท.จันทบุรี. 0-3865-5420-1, 0-3866-4585 บ้านสลักคอก เกาะช้าง 08-7748-9497
-ททท.ตราด 0-3959-7259-60 กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ต.ห้วยแร้ง 08-9247-9648
ภาคเหนือ
พื้นที่สลับซ้อนแห่งภูเขาเขียวขจี มีสถานที่ธรรมชาติสดใหม่ ณ “อุทยานแห่งชาติดอยภูคา” อ.ปัว จ.น่าน ดินแดนแห่งพืชพื้นถิ่นหายากใกล้สูญพันธุ์อย่างต้นชมพูภูคา หรือจะแวะ “อุทยานแห่งชาติแม่จริม” ล่องแก่งหลวงลำน้ำว้า ความท้าทายระดับ 3-5 สลับกันไปตลอดกว่า 22 แก่ง
ที่เมืองน่านนี้ยังมีโครงการ นั่งสามล้อ ผ่อเมืองน่าน ใน 4 เส้นทาง เป็นการนั่งสามล้อ ผ่อเก้าวัด,เวียงเก่า,พระธาตุและผ่อเขาน้อย
ซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจแล้วยังได้ชื่นชมวิถีชีวิตของคนเมืองน่าน ประกอบด้วย วัดภูมินทร์,พระธาตุเขาน้อย,วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร,โฮงเจ้าฟองคำ และประเพณีใส่บาตรเทียน วัดบุญยืนพระอารามหลวง อ.เวียงสา
หากมีเวลาอย่าลืมแวะไปเที่ยววัดพระบาทห้วยต้ม เป็นวัดที่ใหญ่ ที่สุดของอำเภอลี้ ลำพูน เพราะมีสิ่งปลูกสร้างศิลาแลงที่ขุดได้จากบ่อศิลาแลง ด้านหลังของวัด และองค์พระธาตุที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม
และแวะกันไปที่ ปาย แม่ฮ่องสอน ที่มีการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ ยังไงอย่าลืมแวะไปเที่ยวธรรมชาติที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ด้วยนะครับ เพราะที่นี่ยังคงความเป็นวิถีชุมชนที่ติดดินแบบสุดๆ
-ททท.เชียงใหม่ 0-5324-8604
-ททท.แพร่ 0-5452-1118
-ททท.แม่ฮ่องสอน 0-5361-2982-3
-อุทยานแห่งชาติดอยภูคา 0-5470-1000, 0-5473-1362 ล่องแก่งน้ำว้า อุทยานแห่งชาติแม่จริม 0-5477-9402-3, 0-5473-0040-1 โฮมสเตย์บ้านหาดผาขน 08-5183-4975
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
-ททท.นครราชสีมา 0-4421-3666 สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชหรือแหล่งสงวนชีวมณฑลสะแกราช 0-4424-4474,0-4424-2533,0-4425-เ8642
-ททท.อุบลราชธานี 0-4524-3770, 0-4525-0714
- ททท.ขอนแก่น 0-4324-4498-9 สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอด่านซ้าย โทร. 08-3145-3080
-ททท.เลย 0-4281-2812 ,0-4281-1405 พิพิธภัณฑ์สิรินธร (พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว) 0-438-7014
ภาคใต้
-ททท.นครศรีธรรมราช 0-7534-6515-6 พิพิธภัณฑ์หนังตะลุง บ้านหนังสุชาติ ทรัพย์สิน 0-7534-6394 บ้านคีรีวง 0-7555-3111-3 เขาเหล็กบ้านกุงชิง 08-7890-4383 อุทยานแห่งชาติเขาหลวง 08-9909-8533, 0-7530-0494 อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ 0-7568-5269, 0-7552-8495
-ททท.สุราษฏร์ธานี 0-7728-8818-9 ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว
-ททท.เกาะสมุย 0-77 42-0720-2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น