นิตยสาร WhO?
เร่ือง : ว.วชิรเมธี
ภาพ : กองบรรณาธิการ
ปัญหาโลกออนไลน์…คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
เทคโนโลยี่ขั้นสูง อย่าใช้ด้วยภูมิปัญญาขั้นต่ำ
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช อดีต รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นหญิงแกร่ง
มีผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีีมากมาย อาทิ กรรมการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย, กรรมการสิ่งแวดล้อมเหมืองแร่
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน, ผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นเลขาธิการมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์,
ประธานชมรมป้องกันควันพิษ
อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
หรือ เนคเทค จนวันนี้รู้สึกไม่สบายที่ได้เห็นเว็บไซต์มีการแสดงความเห็นหมิ่นเบื้องสูงกันมาก
จึงมีคำถาม(ปุจฉา) ถึง พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี)ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย ว่า
“เราจะเห็นในโลกออนไลน์มีข้อความหมิ่นเบื้องสูงเห็นแล้วไม่สบายใจมากๆค่ะ ไม่ทราบเราจะมีแนวทางให้คนไทยส่วนใหญ่เกิดความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และประเทศชาติได้อย่างไร”
พระมหาวุฒิชัย วิสัชนา
ข้อดีของโลกออนไลน์ก็คือ มันทำให้เราติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น ทำงาน
หรือ ค้นคว้าหาความรู้กันง่ายขึ้น แต่ข้อเสียก็คือ มันทำให้ข้อคิดความเห็น ต่างๆ ถูกนำเสนอกันอย่างง่ายดายเหมือนกัน
การกลั่นกรองเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก และเมื่อข้อความบางอย่างถูกเผยแพร่ออกไปแล้ว ก็จะเข้าสู่โลกไร้พรมแดน
คือ คนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นได้ในระดับโลกทันที
การแสดงความคิดเห็นนั้น เป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานในระบอบประชา- ธิปไตย
แต่การแสดงความคิดเห็นที่ดีนั้นต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบด้วย เสมอไป ทุกวันนี้มีการแสดงความคิดเห็นมากมายในโลกออนไลน์
แต่หลายข้อคิด ความเห็น เป็นการกระทำอย่างมักง่าย ขาดทั้งความรู้ ขาดทั้งความรับผิดชอบ
นึกจะเขียนอะไรก็เขียน นึกจะวิจารณ์อะไรก็วิจารณ์ นึกจะพูดพาดพิงใครอย่างไร ก็ทำตามใจฉัน
โดยไม่สนใจศึกษาหาข้อมูลความรู้ให้ถ่องแท้ เสรีภาพที่ใช้ก็เลย กลายเป็นเสรีภาพที่ฟุ่มเฟือย
ไม่มีคุณภาพอยู่ในเสรีภาพ
นอกจากการแสดงความคิดเห็นจะเป็นสิ่งที่ทำกันอย่างมักง่ายในโลกออนไลน์แล้ว
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ การส่งต่อความคิดเห็นเหล่านั้นก็กระทำกัน อย่างมักง่ายและขาดวิจารณญาณด้วยเช่นกัน
มีข้อคิดความเห็นมากมาย ซึ่งมี ฐานะเป็นเพียง “เสียงลือเสียงเล่าอ้าง” หรือเป็นเพียง
“ขยะข้อมูลปฏิกูลข่าวสาร” ที่ถูกปล่อยออกมาอย่างมากมายไปด้วยอคติ แต่ถึงกระนั้น คนจำนวนไม่น้อยก็
พร้อมที่จะส่งต่อขยะข้อมูลปฏิกูลข่าวสารเหล่านั้นอย่างง่ายดายโดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายที่จะตามมา
น่าเสียดายที่เทคโนโลยี่ขั้นสูง ถูกใช้ด้วยภูมิปัญญาขั้นต่ำ
แทนที่เราจะใช้เทคโนโลยี่ขั้นสูงเพื่อแสวงความรู้ สร้างสรรค์ปัญญา พัฒนาตัวเอง
พัฒนาสังคม ยกระดับจิตวิญญาณ แต่ในเมืองไทย บางทีเราใช้เทคโนโลยี่เหล่านี้ในระดับสัญชาตญาณ
คือ ใช้เป็นแหล่งเผยแพร่ข่าวลือ นินทาชาวบ้าน ดูคลิปอนาจาร สาดโคลนคู่อริ ใส่สีตีไข่คนที่เราไม่ชอบหน้า
ไม่ชอบวิธีที่เขาคิด/วิธีที่เขาเป็น แค่รู้สึก “หมั่นไส้” ใครสักคน เราก็ใช้เทคโนโลยี่
ขั้นสูงทำร้ายเขาอย่างมักง่ายโดยไม่เคารพในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคนของเขา
น่าเสียดายที่แม้เทคโนโลยี่จะพัฒนามาไกลมากแล้ว แต่ปัญญาของเรา
กลับไปไม่ได้ไกลอย่างที่ควรจะเป็น
ส่วนบุคคลที่ชอบเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทาง “หมิ่นเบื้องสูง” นั้น คงต้องขอให้ทางรัฐบาล
ตำรวจ ทหาร และผู้เป็นเจ้าของช่องทางสื่อสารผ่าน โลกออนไลน์ช่วยกันสอดส่องดูแลกันอย่างใกล้ชิด
นอกจากนั้นผู้ที่จงรักภักดีต่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ควรต้อง “ตื่นตัว” และ
“ต่ืนรู้” ให้เท่าทันขบวนการหมิ่นเบื้องสูงด้วย ไม่ใช่ดีแต่บ่นแล้วก็บ่นโดยไม่หาทางแก้ที่เป็น
รูปธรรม อยากจะกล่าวย้ำไว้ตรงนี้ว่า การบ่นจะไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น มีแต่การ มองเห็นปัญหาแล้วลุกขึ้นมาช่วยกันทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
จึงจะแก้ ปัญหาได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น