ฟ้ากว้าง ทะเลใกล้ (The Sky so near)
นวนิยาย 5 ชั่วอายุคน ที่เกิดขึ้นในช่วง รัชสมัยของรัชกาลที่ 5-6 ซึ่งเป็นยุคล่าอานานิคมของชาวตะวันตก เรื่องราวเล่าถึง เมื่ออังกฤษได้ล่าเมืองขึ้น จนได้รัฐมลายูไป พร้อมกับสี่หัวเมืองของไทยคือ รัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรีและเปรัค ในสมัยนั้นสัมพันธภาพของกลุ่มชนทางตอนใต้ของประเทศไทย ที่มีชาวไทย ชาวจีน และชาวมาเลในรัฐกะลันตัน อยู่กันอย่างสงบสุข ท่ามกลางการผสมผสานของขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทยภาคใต้และชาวมาเลฯตอนเหนือ ก่อให้เกิดวัฒนธรรมประเพณีที่อบอุ่นและทรงคุณค่า สร้างข้อคิด ปรัชญา สุภาษิตไว้มากมาย
แต่แล้วเมื่อผลประโยชน์และความกระหายอยากในอำนาจเข้าครอบงำ เหล่าข้าราชการ ทำให้เกิดการคอรัปชั่นขึ้นมากมาย เป็นชนวนที่สำคัญ ที่ทำให้เกิดความแตกแยก ของความสัมพันธ์ที่สวยงามของคนไทยและชาวกะลันตัน จนไม่สารถที่สมานกลับคืนได้ดังเดิม
ผลงานแปลและงานเขียนในภาษาอังกฤษ
ของ เพ็ญศรี เคียงศิริ (นราวดี)
ปี 1972 ถึง 1976 เขียนคอลัมน์ This Precious Life ลงใน
Bangkok World ทุกสัปดาห์ เป็นเวลาสี่ปีเต็ม
เป็นบทความแบบสั้นๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ทั่วไป
ที่เกิดขึ้นและน่าสนใจ คือ current events
ปี 1978 – 1979 เขียน บทความสะท้อนสังคม และเกี่ยวกับ
ความคิด และชีวิตชาวไทย เช่น The Choosing of Thai Names ลงใน Bangkok Post เดือนละสองเรื่อง
3. ปี 1978 – 1980 เขียนบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ลงในSawasdee วารสารของ Thai International Airways ตัวอย่าง เช่น “Thai Proverbs” “Thailand Yesterday and Today”
4. ปี 1975 แปลเรื่องสั้นสามเรื่อง ที่เขียนในนาม นราวดี ชื่อ “ท้อ” “กุลีท่าเรือ” และ “แม่ยังไม่ตาย” โดยให้ชื่อว่า Taw, One Good Turn และ My Mother Is Not Dead มอบให้ Professor Yoe จากมหาวิทยาลัยที่ Singapore ให้ Heinemann Educational Books พิมพ์ เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของนักศึกษา ได้ติดต่อรวบรวมเรื่องสั้นให้จากนักเขียนไทย เช่นของ เทพ และถนอม มหาเปารยะ เรียมเอง วิลาศ มณีวัต สุวรรณี สุคนธา และ ภราดร ศักดา Professor Yoe ตั้งชื่อหนังสือว่า Taw and Other Thai Short Stories.
5. ปี 1981 Professor Yoe รวบรวม ASEAN Short Stories ให้Heinnemann พิมพ์ และขอเรื่องสั้นมาอีก
เพ็ญศรี เคียงศิริ แปลเรื่องสั้น “ผู้ใหญ่อ่วมไปบางกอก”ของเธอให้ และติดต่อจัดส่งเรื่องสั้นของนักเขียนไทยอีกสามคนด้วย เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของนักเขียนไทยต่อไป
การจัดพิมพ์เล่ม
Poems from Thailand
ปรากฏว่าขายดีมาก ผู้จัดการใหญ่โรงแรม ออร์คิดเชราตัน ซื้อ 500 เล่มสำหรับแจกแขกวีไอพี ซึ่งหลายคนอ่านแล้วชอบ และเขียนจดหมายกลับมาชมบทกวี เรื่อง Before My Eyes Grow Dim ในเล่มนี้ เข้าประกวดระดับโลกในปี 1955 ได้เข้ารอบสุดท้ายและได้รับการพิมพ์ในหนังสือประจำปีของผู้จัดประกวด (สมาคมห้องสมุดในอเมริกา) ชื่อหนังสือ Songs on the Wind (มหาวิทยาลัยต่างๆในอเมริกาซื้อเข้าห้องสมุดทุกปี)นอกจากนี้ Bethany Foundation (ดูแลคนสูงอายุ) ในWashington ได้ขอเรื่องนี้กับ เรื่อง Pretty Flowers และ Grandmother to Child About Love ไปพิมพ์ในหนังสือเชิญชวนผู้คนให้บริจาคช่วยมูลนิธิ
Buddhist Ways to Overcome Obstacles.
แปลจากเรื่อง “วิธีใช้ธรรมชนะอุปสรรค” ได้แพร่ไปสู่หลายประเทศ
Thailand – Revealing Perspectives
เป็นการนำบทความสิบเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย จาก ที่เขียนให้ Thai International Airways มารวมเล่ม การท่องเที่ยงแห่งประเทศไทยซื้อหลายร้อยเล่มส่งไปตามสาขาต่างประเทศของการท่องเที่ยว (ใช้ในการประชาสัมพันธ์) ต่อมา วารสาร Austasia ที่ออสเตรเลียติดต่อเช่าลิขสิทธิ์ไปพิมพ์สองเรื่อง
Love in the Fish Market
เขียนใมนาม นราวดี ซึ่งเพ็ญศรี เคียงศิริ เจ้าของเรื่องแปลเอง ต่อมา สนพ. ใน Switzerland เช่าลิขสิทธิ์ไปพิมพ์เป็นภาษาเยอรมัน ออกจำหน่ายทั่วโลกตั้งแต่กลางปี 2550
Arrival Of Dawn หรือ ฟ้าสางที่กลางใจ
นวนิยายสองรางวัล ที่ได้รับการคัดสรรให้เป็นเรื่องที่เด็กและเยาวชนควรอ่านด้วย เพ็ญศรี เคียงศิริแปล ประพันธ์สาส์นเป็นผู้จัดพิมพ์ ผู้เขียนและผู้แปล ซึ่งเป็นคนๆเดียวกัน (ขอขอบคุณคุณอาทรไว้ใน ที่นี้ อีกครั้งหนึ่ง)
งานที่ได้รับเชิญให้แปล เขียน และเป็นบรรณาธิการ
แปลวรรณกรรมอมตะเรื่อง พระอภัยมณี
ให้สำนักงานคณะกก.วัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช) ซึ่งจะมี 12 เล่มด้วยกัน ทีมงานมีห้าคน
แปลบทละคร เรื่อง“หัวใจทอง” ของ ม.ล. ปิ่น มาลากุล
ซึ่งได้รับมอบหมายโดยกระทรวงศึกษาธิการ
เขียน “มารยาทสังคมไทย” ให้ สวช
โดยมีนักวิชาการอีกสองคนร่วมเขียนด้วย ส่วนที่เขียน คือ Table Manners และ Everyday Etiquette (เล่มนี้มีการพิมพ์ซ้ำหลายครั้งแล้ว)
ร่วมทำหนังสือให้สำนักงานเอกลักษณ์ของชาติ
โดยมี ดร. สุวิทย์ ยอดมณี เป็นประธานคณะกรรมการ หนังสือชื่อ Tsunami และ Thailand – Traits and Treasures สำหรับเล่มหลังนี้ ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในห้าบรรณาธิการด้วย
ปัจจุบัน
แปลเพลง ภาษาอังกฤษเป็นไทย และเพลงไทยเป็นภาษาอังกฤษ ในคอลัมน์สอนภาษา ชื่อ
“เพลินเพลง เก่งอังกฤษ” ลงพิมพ์ทุกสัปดาห์ใน “สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์” ปีนี้เป็นปีที่3 แล้ว
2. กำลังแปล พระอภัยมณี ต่อไป
รางวัลต่างๆที่ได้รับ
จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ เรื่อง ฟ้าใกล้ทะเลกว้าง พ.ศ. 2538
“ “ “ “ ฟ้าสางที่กลางใจ พ.ศ. 2542
รางวัลครอบครัวประชาธิปไตยตัวอย่างจาก สนง. เอกลักษณ์ของชาติ พ.ศ. 2542
จาก เซเว่นบุคส์อวอร์ดส์ ฟ้าสางที่กลางใจ พ.ศ. 2546
รางวัลผู้มีอุปการคุณต่อสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2550
รางวัลสุรินทราชาในฐานะนักแปลดีเด่น พ.ศ. 2551
รางวัลแม่ดีเด่น พ.ศ. 2552
รางวัลสตรีไทยดีเด่น พ.ศ. 2552
ประวัติผู้ร่วมเสวนา
รองศาสตราจารย์ ดร.ปราณี ศิริจันทพันธ์
นักแปลและล่ามอาวุโสดีเด่น “รางวัลสุรินทราชา” พ.ศ.๒๕๕๓
อักษรศาสตรบัณฑิต (ฝรั่งเศส,อังกฤษ,ประวัติศาสตร์)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Dip. in Teaching French (Paris University)
Ph.D. in History (Paris University)
ประวัติผู้ดำเนินรายการ
ศาสตราจารย์ ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร
ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติการศึกษา
2535 Ph.D. (Comparative Literature) University of Michigan-Ann Arbor
2530 อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วรรณคดีไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2521 อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาและวรรณคดีไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2516 อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานด้านบริหาร
2550 - 2552 ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดี
และวรรณคดีเปรียบเทียบ
2550 - 2552 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา
(หลักสูตรนานาชาติ)
บทความ
2548 “นางฟ้าของศรีบูรพา: ภาพลักษณ์ตัวละครสตรีในนวนิยายของศรีบูรพา” ศิลปวัฒนธรรม,
2548 “พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก: เรื่องเล่า ชนเผ่าไท” วารสารไทยศึกษา ปีที่ 1 ฉบับที่ 1
2547 “พัฒนาการนวนิยายของศรีบูรพา” วารสารภาษาและหนังสือ, 2547
2547 “เที่ยวแดนพรับพรี สดุดีพระจอมเกล้าฯ” เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 652, 29 พฤศจิกายน 2547
2547 “ซีไรต์: มากกว่ารางวัลคือสายสัมพันธ์วรรณกรรมอาเซียน” เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 644 2547 “กลอนสวด: วรรณคดีที่โลกลืม” เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 637, 16-22 สิงหาคม 2547
2547 “สองศตวรรษหมอบรัดเลย์: ผู้บุกเบิกการแพทย์และการพิมพ์แบบตะวันตกในสังคมไทย
” เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 630, 28 มิถุนายน - 4 กรกฎาคม 2547
ตำรา
2545 วรรณคดีเปรียบเทียบ: กระบวนทัศน์และระเบียบวิธี. กรุงเทพฯ
: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2542 นวนิยายกับสังคมไทย พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์, 2542. พิมพ์ครั้งที่ 1 2533. ฉบับแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นโดย Prof. Toshiharu Yoshikawa, 1980.
2538 การใช้ภาษา เขียนร่วมกับคณาจารย์ภาควิชาภาษาไทย กรุงเทพฯ : ศึกษิตสยาม
2526 เอกสารการสอนชุดการใช้ภาษาไทย กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 11
กระบวนการอ่านเพื่อความรอบรู้ หน่วยที่ 12 การพัฒนาสมรรถภาพในการเขียนหนังสือ
2548 คืออิสสรชน คือคนดี คือศรีบูรพา. คณะกรรมการ 100 ปี ศรีบูรพา. เมษายน 2548.
ผลงานด้านอื่นๆ
2551 กรรมการพิจารณาตัดสินการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2551
2550 ผู้นำการเสวนาเรื่อง "รื้อสร้างไร้กรอบทะลุพรมแดน" ภายใต้โครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย
หัวข้อ "รื้อเวทีวิจัย...สร้างวิจัยบนเวทีละคร" จัดโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กลุ่มงานมนุษยศาสตร์ ในวันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน 2550
2550 กรรมการตัดสินรางวัลซีไรท์ ประจำปี 2550
กรรมการตัดสินการประกวดบทวิจารณ์วรรณกรรมดีเด่น กองทุนม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ
2550 กรรมการฝ่ายวิชาการ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการระดับอนุภูมิภาคเอเชีย เรื่อง มรดกร่วมทาง
วัฒนธรรม- เชิงนามธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ฯลฯ