สุทธิคุณ กองทอง หนุ่ม

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พระมหา ม.ร.ว.นันทวัฒน์ ชยวฑฺฒโน 15 ปีบนเส้นทางธรรม ละกิเลสจากความเป็นเชื้อพระวงศ์




































เรื่อง : สุทธิคุณ กองทอง

ภาพ : มาโนช ภาชีรัตน์

พระมหา ...นันทวัฒน์ ชยวฑฺฒโน

15 ปีบนเส้นทางธรรม

ละกิเลสจากความเป็นเชื้อพระวงศ์

(โปรย) 15 ปีในร่มกาสาวพัสตร์ลาภ ยศ และสรรเสริญ" ย่อมกลายเป็นเรื่องธรรมดา การยึดหลักไตรลักษณ์ อันได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งเป็นกฎสำคัญแห่งธรรมชาติ จึงนับเป็นสิ่งที่พระมหาผู้มีราชสกุลนำหน้าว่า ... ยึดถือเป็นสรณะในการปฏิบัติตน

////////

ในสังคมปัจจุบัน ลาภ ยศ สรรเสริญ อาจกลายเป็นเกณฑ์วัดค่าความเป็นมนุษย์มากกว่าที่จะวัดกันที่ความดี ทำให้ความดีจริงๆ กลายเป็นแค่ฐานรอง แต่นิยามดังกล่าวดูจะสวนทางกับความคิดของ พระมหา ...นันทวัฒน์ ชยวฑฺฒโน วัดบวรนิเวศวิหารฯ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ซึ่งท่านมีมุมมองต่อลาภ ยศ สรรเสริญ ว่าเป็นสิ่งที่ไปยึดติดกับมันมากเกินไป ยิ่งพอยึดติดมากเท่าใดก็ยิ่งกลายเป็นความทุกข์ ดังนั้นการอยู่ในเพศบรรพชิตของ ...นันทวัฒน์ จึงเปรียบเสมือนการลด ละ ในเรื่องของกิเลสที่ติดมากับชาติกำเนิด

พระมหา ...นันทวัฒน์ ชยวฑฺฒโน อายุ 37 ปี โยมบิดาคือ ..มงคลเฉลิม ยุคล ส่วนโยมมารดาคือ หม่อมบงกชปริยา มีพี่สาวและพี่ชาย ได้แก่ ...ศรีเฉลิม ยุคล (กาญจนภู) และ ...อุรรัตนา ยุคล หลังจบการศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จึงอุปสมบทเมื่อปี 2538 เวลา ***?*** วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ โดยมี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ ***พระธรรมสิริสารเวที*** เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา ชยวฑฺฒโน ปัจจุบันท่านมีภาระกิจต้องดูแล สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โรงพยาบาลจุฬาฯ เป็นหลัก

/// ตัดสินใจบวช...เพราะต้องการความอิสระ

เส้นทางของภิกษุรูปงามเกิดขึ้นเพราะจังหวะชีวิตโดยแท้ พระมหา ...นันทวัฒน์ เล่าว่า เริ่มแรกที่เข้ามาบวชก็เนื่องจากเรียนจบปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แล้วกำลังเตรียมตัวเดินทางไปเรียนต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ระหว่างรอเดินทาง กลับคิดได้ว่า การไปเรียนต่อเมืองนอกก็เพื่ออยากไปเที่ยวดูสิ่งแปลกตา เหมือนกับได้หนีโยมพ่อโยมแม่สักพักหนึ่ง จึงทำให้เกิดความกลัวว่าแล้วชีวิตจะอยู่อย่างไร

ชีวิตหลวงพี่เป็นคนกรุงเทพฯ อยู่ในความดูแลของพ่อแม่ตลอด จึงเกิดความกลัวว่าถ้าเราไปแล้วเราจะอยู่ยังไง ถึงมีญาติอยู่ที่นั่น แต่ก็คิดว่าอยากอยู่คนเดียวแบบอิสระมากกว่า ความกลัว ตรงนี้มีประโยคหนึ่งแวบเข้ามาในหัวว่าอยากบวช ซึ่งจริงๆ การบวชเคยคิดตั้งแต่เรียนมัธยมแล้ว พอคิดอยากบวช เราต้องการจะบวช ในใจก็บอกกับตัวเองว่ามันน่าสนใจ เลยคิดว่าเราลองขับรถออกไปไกลๆ พอเจอวัดที่ไหนแล้วเราก็บวชเลย เมื่อหลวงพี่ต้องการแบบนี้จึงบอกโยมพ่อ แต่ท่านตอบว่าถ้าจะบวชต้องบวชนาคหลวง เพราะว่าเราเป็นเชื้อพระวงศ์ จึงต้องมีการกราบทูลขออนุญาต แล้วก็ได้มาบวชที่วัดบวรนิเวศวิหารฯ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้จะเข้าวัดน้อยมาก จึงไม่รู้จักว่าวัดบวรฯ อยู่ตรงไหนของกรุงเทพฯนั่นจึงเป็นที่มาการบวชของ ...นันทวัฒน์ ยุคล ในวัย 22 ปี

/// ซึ้งในรสพระธรรม...ขอบวชไม่สึก

จากเหตุผลของการบวชเพียงเพื่อต้องการหลุดพ้นจากความกลัว กลับกลายเป็นการค้นพบความสุขอันแท้จริง เมื่อเป็นเช่นนั้น กรอบเวลาในการลาสิกขาบทจึงไม่เคยถูกกำหนดไว้ให้เห็นโยมพ่อย้ำว่าถ้าบวชต้องให้ครบพรรษาแล้วค่อยสึก หลวงพี่ฉุกคิดขึ้นมาทันทีว่าถ้าคนอื่นทำได้ หลวงพี่ก็ต้องทำได้ พอบวชได้ประมาณ 2 เดือน ได้เรียนพระพุทธศาสนา ได้อ่านหนังสือพุทธประวัติที่แต่งโดยอดีตเจ้าอาวาสวัดบวรฯ ที่เขียนออกมาเป็นแนววิทยาศาสตร์อายุเป็นร้อยกว่าปีแล้ว ทำให้ประทับใจในหนังสือเล่มนี้ ส่งผลให้รู้เรื่องธรรมะเป็นระบบมากขึ้น จึงคิดว่าหลวงพี่น่าจะทำอะไรให้พระพุทธศาสนามากกว่านี้ เราน่าจะอยู่ต่อเพื่อจะได้ศึกษาหลักธรรมะบางอย่างที่เรายังไม่รู้ ถ้าเราสึกออกไปจริงๆ เราคงไม่ได้แตะมันอีกเลยก็ได้

เมื่อคิดที่จะอยู่ในเพศบรรพชิตอย่างไม่มีกำหนด โยมพ่อและโยมแม่ก็ไม่ได้ห้ามหรือคัดค้านแต่อย่างใดหลวงพี่ถามตัวเองว่า ถ้าเราไม่สึก ครอบครัวเราจะเป็นอย่างไร เขาจะเดือดร้อนกันไหม โดยก่อนหน้านี้ขอท่านไว้ 2 เรื่อง คือ 1.ถ้าบวชต่อ ขออย่าห้าม 2.ถ้าหลวงพี่อยากสึก ก็ขออย่าห้าม จะอยู่ได้หรืออยู่ไม่ได้ก็เป็นเรื่องของหลวงพี่เอง แต่โยมพ่อพูดเอาไว้ดีมาก ท่านบอกว่า หน้าที่ของพ่อคือการเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี พอเลี้ยงลูกได้ดีแล้ว ตรงนี้ลูกขอ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเหมือนกัน เพราะเราไม่ได้เลี้ยงลูกเพื่อให้สืบสกุลเพียงอย่างเดียว แต่เราเลี้ยงคนคนนั้นให้เป็นมนุษย์ที่ดี ส่วนโยมแม่ท่านก็พูดว่า บวชก็ดีนะ เพราะเราไม่รู้ว่าเราจะมีหลานไหม แล้วหลานเราจะเป็นคนดีหรือเปล่า หรือแต่งงานไปก็ไม่รู้ว่าภรรยาของลูกจะเป็นคนดีหรือเปล่า เราไม่สามารถรู้อนาคต แต่เรารู้ในสิ่งปัจจุบันว่าลูกเราเป็นคนดีประโยคคำพูดของโยมแม่นี้ยังดังก้องอยู่ในใจไม่เคยจาง

/// ไม่ได้ยึดติดยศถาบรรดาศักดิ์

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ทำให้การตัดสินใจบวชครั้งนั้นลำบากใจไม่น้อย เนื่องจากก่อนบวช พระมหา ...นันทวัฒน์ ก็มีแฟนเหมือนวัยรุ่นท่ัวไป

ก็คิดว่าเรายังไม่ได้แต่งงานมีครอบครัว ส่วนโยมพ่อโยมแม่ก็ไม่ได้ลำบาก ยิ่งเปิดทางให้ และโยมพี่สาวก็ไม่ได้ติดใจอะไร หลวงพี่คิดว่าโอกาสของความดีที่เปิดกว้างขนาดนี้ เราทำไมถึงไม่รีบคว้าเอาไว้ และคงไม่มีเวลาอื่นที่เหมาะสมมากแบบนี้ หลวงพี่จึงตัดสินใจไม่สึกตั้งแต่บัดนั้นน้ำเสียงของหลวงพี่ที่ตอบออกมาช่างลุ่มลึก และหนักแน่นกับการตัดสินใจที่จะบวชไม่สึก โดยไม่ได้ยึดติดกับคำนำหน้านาม

จริงๆ แล้วความเป็นเชื้อพระวงศ์มันก็เป็นตัวนำหน้าเท่านั้น หลวงพี่คิดว่าอยู่ที่ความตั้งใจจริงของการบวชมากกว่า ถามว่ามีผลไหม มันก็คงมีผลบ้าง แต่ก็น้อย เพราะไม่ได้ยึดติด การบวชเหมือนเป็นการทดสอบตัวเองมากกว่า หลวงพี่ก็สามารถทำได้ หากมองในเรื่องของกิเลส อย่างน้อยก็ทำให้ภูมิใจในตัวเอง ระยะเวลานานเข้าหลวงพี่ก็มองว่าความเป็นเชื้อพระวงศ์ไม่ใช่ส่วนสำคัญมากนัก เราต้องมองให้เห็นไตรลักษณ์ เป็นกฎสำคัญแห่งธรรมชาติ ซึ่งมีลักษณะ 3 อย่าง คือ 1.อนิจจัง ความไม่เที่ยง 2.ทุกขัง ความทนอยู่ไม่ได้ 3.อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน

/// ครั้งหนึ่งเคยคิดสึก

การบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือ การสละทางโลก สละความสุขสบาย สละกามคุณทั้งห้า เพื่อหาทางพ้นทุกข์ แม้จะพ้นได้หรือไม่ได้ในชาตินี้ก็ตาม การบำเพ็ญบารมีดังกล่าวเป็นบุญกุศลอย่างยิ่ง แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่หลวงพี่นันทวัฒน์ก็เคยคิดสึกกับเขาเหมือนกัน

ครั้งหนึ่งหลวงพี่เคยคิดสึกเหมือนกัน แต่ถามว่าอนาคตจะเป็นยังไงก็ยังไม่รู้ ก็ขอให้เป็นเรื่องของอนาคต จริงๆ หลวงพี่คิดว่าไม่ต้องไปคิดหรอก หากปัจจุบันไม่เสแสร้ง การกระทำเป็นคนตรงและจริงใจ คุณไม่ต้องกลัวอนาคต ตราบใดเป็นคนดีที่จริงทั้งในและนอก อนาคตคุณดีแน่ ถ้าหลวงพี่อยู่ตรงนี้แล้วมีความสุข อนาคตหลวงพี่ก็อาจอยู่ได้ สาเหตุหลักของการสึกน่าจะมาจากเกิดอุบัติเหตุหรือป่วยหนัก เพราะความเป็นพระคงอยู่ลำบาก แต่ถ้าป่วยตอน 80 หรือ 90 ก็ปล่อยไปเถอะ คงไม่สึกแล้ว

ทุกวันนี้ภารกิจหลักประจำวันของหลวงพี่นันทวัฒน์นอกจากต้องรับหน้าที่เป็นผู้ดูแลสมเด็จพระสังฆราชแล้ว ยังรับนิมนต์ไปบรรยายธรรมเทศนาหรือไปปาฐกถาบ้าง ตามแต่โอกาสจะอำนวย โดยท่านเล่าว่า ที่ผ่านมาเสียงตอบรับจากญาติโยมส่วนใหญ่จะบอกว่า เทศน์ได้ทันสมัยดี

เนื้อหาที่อาตมาเทศน์จะเกี่ยวกับเรื่องศีล ทำอย่างไรถึงไม่ให้ตกนรก และไม่ให้ผิดศีล หลวงพี่พยายามบอกเขาว่า ถ้าเราจะมองธรรมะอะไร อย่าลืมมองตนเองก่อน หรือการคบคนพาลก็คือการที่เราประพฤติผิดในศีล จึงไม่สามารถเป็นบัณฑิตได้ แต่ถ้าคนเรารักษาศีลก็มีบัณฑิตอยู่ในตัวแล้วหลวงพี่นันทวัฒน์กล่าวพลางบอกต่อถึงวัตรปฏิบัติของตนว่าจะฝึกฝนตนเองไปเรื่อยๆ แล้วพยายามปฏิบัติตัวในความเป็นพระให้ดีที่สุด แต่สิ่งที่ทำได้ในปัจจุบันก็คือ ไม่มีความเครียด ทำจิตใจให้สบาย พยายามไม่อยากได้ของของคนอื่น และพยายามให้ในสิ่งที่ให้ได้ รวมทั้งไม่ผูกพยาบาทผูกโกรธกับใคร

วันนี้ทำความดีให้มากกว่าความชั่ว จงทำดีเป็นนิสัย เพราะความดีที่เราทำไม่สามารถมีอะไรมาลบล้างได้ หลวงพี่อยากบอกว่า อย่าไปเชื่อว่าทำความดีแล้วไปลบความชั่ว สาเหตุที่ลบล้างไม่ได้ ตราบใดที่ผลมันยังไม่เกิด มันก็ไม่ลบ มันไม่จบ แต่เราสามารถทำความดีเพื่อให้ผลแห่งกรรมชั่วมาถึงเราได้ยาก เปรียบเทียบเหมือนเราเข้าคิว พอเราทำความดี ความดีก็เหมือนเด็กเส้น เราก็สามารถลัดคิวได้ ตอนแรกความชั่วเราเข้าคิวอยู่ที่ 2 ความดีอยู่ที่สามสิบกว่า และถ้าเราขยันทำความดี ความดีก็อาจวิ่งขึ้นมาเข้าคิวอยู่ที่ 2 หรือที่ 3 ก็ได้ ส่วนความชั่วอาจอยู่รั้งท้าย ตามความดีไม่ทัน หลวงพี่ชอบคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ดีจริงๆ ท่านพูดว่า เธอจงลองฟัง ลองประพฤติ ลองฝึกดูก่อน คิดว่าคงไม่มีศาสนาใดในโลกทำได้แบบนี้

/// เกิดมาเป็นมนุษย์...จงเชื่อในกรรม

ก่อนที่การสนทนาธรรมครั้งนี้จะจบลง สถานการณ์บ้านเมืองก็ยังมีความวุ่นวาย พระมหา ...นันทวัฒน์ เตือนสติให้กับสังคมนี้ว่า ใครทำอะไรย่่อมได้รับกรรมนั้น เพราะกรรมมีจริง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว รู้ว่าทำสิ่งใดไปแล้วย่อมได้รับสิ่งนั้น เพราะกรรมเป็นอะไรที่กลางๆ ไม่ได้ กำหนดว่าอะไรดี อะไรชั่ว แต่สิ่งที่ทำดีหรือไม่ดีย่อมส่งผล ทำดีก็ได้ดีไป แล้วจะทำให้เราเกิดความสุข อุ่นใจ เบาใจ นั่นก็คือกรรมดี แต่ใครทำไม่ดี ผลนั้นย้อนกลับมาทำให้เราเป็นทุกข์

เครียดหรือผิดหวังมันก็คือกรรมชั่ว หลวงพี่อยากให้ทุกคนได้มีทาน ศีล ภาวนา ซึ่งจักนำพาชีวิตให้เจริญรุ่งเรือง อย่างน้อยสัมมาทิฐิ (ปัญญา) คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและทางธรรม

เพราะหากปราศจากปัญญาในการครองชีวิตอย่างมีสติ โอกาสที่จะละซึ่งกิเลสก็คงเป็นไปได้ยากเช่นกัน...


ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ WhO? Magazine ฮู แมกกาซีน
http://www.whoweeklymagazine.com/
สอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์
โทร.086-389-5835

โทรสาร 02-654-7577

1 ความคิดเห็น: