สุทธิคุณ กองทอง หนุ่ม

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พลังสร้างสรรค์ สู่อนาคตที่ยั่งยืน สตรียุคใหม่ พัฒนาอาชีพ ห่วงใยสุขภาพ รักษาสิ่งแวดล้อม



พลังสร้างสรรค์ สู่อนาคตที่ยั่งยืน สตรียุคใหม่ พัฒนาอาชีพ ห่วงใยสุขภาพ รักษาสิ่งแวดล้อม

คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์และองค์กรสมาชิกภาคีทั้งภาครัฐ และภาคธุรกิจ และภาคเอกชนกว่า ๑๐๐ แห่งทั่วประเทศ ร่วมกันเฉลิมฉลองวันสตรีไทย ๑ สิงหาคม เป็นปีที่ 3 ด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ ๒๙ กรกฎาคม จนถึงตลอดเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ อาทิเช่น

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดงานวันสตรีไทย และพระราชทานโล่เกียรติยศสตรีไทยดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๔ และพระราชทานโล่ห์รางวัลสุดยอดโครงการเพชรน้ำหนึ่ง ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากสภาสตรีแห่งชาติฯ และสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ร่วมจัดกิจกรรมและนิทรรศการในวันศุกร์ที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อิมแพ็คเมืองทองธานี กรุงเทพฯ

พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จเป็นประธานเปิดงานเชิดชูเกียรติเยาวสตรีไทยดีเด่น เนื่องในวันสตรีไทย ประจำปี ๒๕๕๔ และเสด็จเป็นประธานการนำเสนอผลงาน แกนนำเยาวสตรีไทยในโครงการเยาวสตรีไทยร่วมใจยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ซึ่งสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและพิทักษ์เด็ก เยาวชนผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ(สท.) สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมจัดงาน ณ อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ อาคารเอ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ในวันจันทร์ที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๔.๐๐ น.

สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย – กรุงเทพฯ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (สธวท. กรุงเทพฯ) และภาคธุรกิจสถาบันการเงิน จัดปาฐกถาพิเศษเนื่องในโอกาสวันสตรีไทย ประจำปี ๒๕๕๔ ในหัวข้อ “บทบาทของภาคการเงินและตลาดทุนต่อการพัฒนาศักยภาพสตรีไทย” และเสวนาสร้างเงินสร้างงานสร้างความสำเร็จในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยวิทยากรรับเชิญจากภาคธุรกิจการเงิน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันอังคารที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๐๐ น.

สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นำผู้แทนผู้นำสตรีไทยในต่างแดน เข้าเยี่ยมคารวะและศึกษาดูงาน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในวันพุธที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ อาคารรวมหน่วยราชการ บี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ถ.แจ้งวัฒนะ หลักสี่ กรุงเทพฯ

สภาสตรีไทยแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมโครงการปลูกต้นไม้ราชพฤกษ์เทิดพระเกียรติ พระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวันสตรีไทย โดยสมาคมสตรีภาคพื้นแปรซิฟิคฯ ณ บริเวณเกาะกลางอ่างเก็บน้ำพระปรง ตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว และเยี่ยมชมศูนย์พัฒนาการเกษตรอุตสาหกรรมยั่งยืนเฉลิมพระเกียรติ พระชันษา ๕๐ ปี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในวันพฤหัสบดีที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๔

สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับองค์กรสตรีสมาชิกจัดพิธีมงคลทางศาสนาพุทธเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ประเทศชาติ และสภาสตรีแห่งชาติในวันเสาร์ที่ สิงหาคม ๒๕๕๔ วัดพระราม๙ กาญจนาภิเษก

กรมราชทัณฑ์จะจัดกิจกรรมเนื่องในวันสตรีไทย ประจำปี ๒๕๕๔ โดยจะจัดนิทรรศการจัดแสดงแบบเสื้อโดยผู้ต้องขังหญิงเป็นผู้ออกแบบ และนางแบบกิตติมศักดิ์ ดารานักแสดงให้เกียรติร่วมเดินแบบ ในวันศุกร์ที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ รอยัล จูบิลี่ บอลรูม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี และยังจัดปฏิบัติธรรมให้แก่ผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิงกลาง จังหวัดนนทบุรี และทัณฑสถานหญิง ๑๐๗ แห่ง ทั่วประเทศ ในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ถึง ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ และในวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ผู้ต้องขังหญิงจะร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์นอกสถานที่เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวันสตรีไทย ๑ สิงหาคม

สมาคมแม่บ้านมหาดไทย เชิญชวนผู้นำสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดทั่วประเทศ ร่วมกิจกรรม “สตรีไทยห่วงใยสุขภาพ” พร้อมทั้งจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเนื่องในวันสตรีไทยตลอดเดือนสิงหาคม

นอกจากนี้ยังมีภาคธุรกิจเอกชนเข้าร่วมสนับสนุนในการเฉลิมฉลองวันสตรีไทย ๑ สิงหา อีกกว่า ๕๐ องค์กร

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สังสรรค์สมาชิก สมาคมอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย ณ ห้องอาหารฝรั่งเศส เดซองส์ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ






สังสรรค์สมาชิก สมาคมอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย

ณ ห้องอาหารฝรั่งเศส เดซองส์ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ



สัญโชค มอดกิล – SANJOG MODGIL (ที่ 4 จากซ้าย) นายกสมาคมอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย (FBAT)จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ระหว่างสมาชิก ณ ห้องอาหารฝรั่งเศส เดซองส์ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯโดยมี อเล็กซานเดอร์ ชิลลิงเกอร์ (ที่ 5 จากซ้าย) รองผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม ของโรงแรมฯให้การต้อนรับ และได้รับเกียรติจาก ม.ล. ลักษสุภา กฤดากร (ที่ 2 จากขวา) เข้าร่วมงานด้วย

From : Earth Saiswang เอิร์ธ สายสว่าง - 081 43 542 43

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทอดผ้าป่าไถ่ชีวิตโค-กระบือ ปล่อยปลา ปลูกต้นสัก ถวายเป็นพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
















ทอดผ้าป่าไถ่ชีวิตโค-กระบือ ปล่อยปลา ปลูกต้นสัก

ถวายเป็นพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา

วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ร่วมกับ อำเภอท่าตะโก จัดพิธีทอดผ้าป่าไถ่ชีวิตโค กระบือ ปล่อยปลา และปลูกต้นสัก ถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2554 โดยมีพุทธศาสนิกชนมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2554 ณ วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ฯ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์

พิธีทอดผ้าป่าไถ่ชีวิตโค กระบือ ปล่อยปลา และปลูกต้นสัก ดังกล่าวนี้ นำโดย อ.เฉลิมพล รุจินิรันดร์ และคณะครูอาจารย์โรงเรียนกวดวิชาบ้านครูตู่ ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธา ได้เป็นผู้ริเริ่มนำกองผ้าป่าไถ่ชีวิตโค กระบือ ปล่อยปลา และปลูกต้นสัก มาถวายยังวัด ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมด้วย นางอมรรัตน์ มีแดง นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานในพิธี และมี นายวิสิทธิ์ ศรีบรรเทา นายอำเภอท่าตะโก นางสุมนา อภินรเศรษฐ์ และ นางสาวราชตี สิงหศิวานนท์ รองประธานคณะกรรมการวัด ให้การต้อนรับ

พิธีทอดผ้าป่าไถ่ชีวิตโค กระบือ ปล่อยปลา และปลูกต้นสัก นั้นมี พระเทพโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม ประธานผู้จัดสร้างวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ฯ เป็นประธานในพิธีสงฆ์ และพระครูวิจิตรสีลาภรณ์ เจ้าอาวาสเป็นผู้พิจารณาผ้า โค-กระบือที่นำมาไถ่ชีวิตในครั้งนี้รวม 120 ตัว ซึ่งคณะผู้มีจิตศรัทธาได้ไถ่ชีวิตมาจากโรงฆ่าสัตว์ ซึ่งเป็นโค-กระบือเพศเมียที่กำลังตั้งท้อง ได้นำมาถวายแก่วัดเพื่อมอบให้กับชาวบ้านในอำเภอท่าตะโกที่ฐานะยากจนนำไปเลี้ยงเพื่อใช้งานต่อไป

ส่วนการปล่อยปลานั้นเป็นพันธุ์ปลาสวาย จำนวน 100,000 ตัว ปล่อยลงในอ่างเก็บน้ำของวัด ซึ่งทางวัดได้ทำการขุดคลองรอบเขาโคกเผ่นอันเป็นที่ตั้งของวัดและได้ขุดอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเป็นที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในยามหน้าแล้ง และเป็นแหล่งรองรับน้ำในยามหน้าฝน เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วม รวมถึงเป็นแหล่งอาหารในอนาคต รวมทั้งการปลูกต้นสัก จำนวน 300 ต้น เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับผืนป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ และช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

บรรยากาศของพิธีทอดผ้าป่าไถ่ชีวิตโค กระบือ ปล่อยปลา และปลูกต้นสัก มีพุทธศาสนิกชนผู้จิตศรัทธา เดินทางมาร่วมงาน เป็นเจ้าภาพไถ่ชีวิตโค กระบือ ปล่อยปลา และปลูกต้นสัก จากทั่วทุกสารทิศ แสดงให้เห็นถึงความรักและการเทิดทูนสถาบันหลัก คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เพราะการจัดงานในครั้งนี้มิได้เพียงแค่ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่ทรงเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 เท่านั้น แต่ยังร่วมถึงการน้อมจิตน้อมใจดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา เพราะงานในครั้งนี้จัดขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2554 ซึ่งตรงกับวันอาสาฬหบูชานั่นเอง

อนึ่ง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดรับวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ให้เป็นวัดในพระองค์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2554 วัดนี้สร้างเป็นรูปเหลือหลวง หมายถึง พาหนะที่จะช่วยนำพาสัตว์ทั้งหลายที่ตกอยู่ในห้วงสังสารวัฎให้รอดพ้นจากห้วงน้ำคือกิเลศทั้งปวง ขึ้นสู่ฝั่งโดยปลอดภัย สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัด ได้แก่เจดีย์ 2 องค์ ที่สร้างขึ้นต่างวาระกัน เจดีย์องค์แรก คือ เจดีย์ศรีมหาราช สร้างขึ้นในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 50 ปี และ เจดีย์ศรีพุทธคยา ซึ่งสมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงรับเป็นประธานจัดสร้าง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี และเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา สิ่งก่อสร้างต่างๆ ในวันป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ฯ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ล้วนสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ผู้มาเยี่ยมชมวัดนี้ได้ระลึกถึงสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติทั้งสิ้น

กุลจิรา ชำนิบรรณการ

ที่ปรึกษางานประชาสัมพันธ์

รายละเอียดเพิ่มเติม : ปาริชาติ ชำนิบรรณการ โทร. 08-3187-9927




บรรยายใต้ภาพ

1. พระเทพโมลี ประธานสงฆ์นำปลูกต้นสัก 300 ร้น

2. พระครูวิจิตรสีลาภรณ์ เจ้าอาวาส

3. นายวิสิทธิ์ ศรีบรรเทา, พันเอกหญิงอุษากรณ์ จันทรวงศ์, นางสุมนา อภินรเศรษฐ์, นายชัยโรจน์ นางอมรรัตน์ มีแดง, นางสาวราชตี สิงหศิวานนท์ และ คุณจงรักษ์ สังข์ประสิทธิ์

4. นางสุมนา อภินรเศรษฐ์ มอบดีวีดีภาพยนต์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา เรื่อง พุทธศาสดา แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ 85 ชุด

5. พล.ต.ต.ณรงค์ กาญจนะ และนายเฉลิมชัย รุจินิรันดร์

6. ประธานสงฆ์มอบของที่ระลึกแก่ นายเฉลิมชัย รุจินิรันดร์ เพื่อมอบแก่คณะเจ้าภาพทอดผ้าป่า

7. สองรองประธานวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ให้อาหารและทำขวัญโค-กระบือที่ได้ไถ่ชีวิต

8. นางสาวราชตี สิงหศิวานนท์ นางสุมนา อภินรเศรษฐ์ และ นางอมรรัตน์ มีแดง ส่งมอบโค-กระบือแก่ชาวบ้านฃ

9. ชาวบ้านท่าตะโกรอรับโค-กระบือ จากผู้มีจิตศรัทธาที่ได้ไถ่ชีวิตจากโรงฆ่าสัตว์

10. นางสาวราชตี สิงหศิวานนท์ นางสุมนา อภินรเศรษฐ์ นางอมรรัตน์ - นายชัยโรจน์ มีแดง พระเทพโมลี กับชาวบ้านที่ได้รับโค-กระบือ

11. ชีวิตใหม่ของแม่กระบือตั้งท้องที่ได้รับการไถ่ชีวิต

12. ผู้ว่าฯ นครสวรรค์ และ นายกเหล่ากาชาด ร่วมปลูกต้นสัก

13. สองพี่น้องรองประธานวัดช่วยกันปลูกต้นสัก

14. คุณจงรัก สังข์ประสิทธิ์

15. พุทธศาสนิกชนช่วยกันปล่อยปลา

16. อ่างเก็บน้ำที่จะยังประโยชน์แก่ชาวบ้านเขาโคกเผ่น

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

‘เซ็นทารา’ รุกไม่หยุด ล่าสุดได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้บริหารศูนย์ประชุม และโรงแรม ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐






เซ็นทารา รุกไม่หยุด ล่าสุดได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้บริหารศูนย์ประชุม และโรงแรม ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยการอนุมัติจากบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ซึ่งเป็นการประกาศย้ำความเป็นผู้นำด้านโรงแรมของโรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา

บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด หรือ ธพส. ได้คัดเลือกให้บริษัทโรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา เป็นผู้ชนะเข้าเป็นผู้บริหารศูนย์ประชุมและโรงแรม ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ธันวาคม ๒๕๕๐ โครงการศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถือเป็นนวัตกรรมของโครงการอาคารสำนักงานของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐในประเทศไทย เพื่อรองรับความต้องการด้านสถานที่ทำการของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ตั้งอยู่บนที่ราชพัสดุ เนื้อที่ประมาณ ๓๔๙ ไร่ พื้นที่ก่อสร้างรวมทั้งโครงการประมาณ ล้านตารางเมตร ซึ่งธพส. ทำสัญญาเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์ เพื่อบริหารจัดการโครงการและบริหารงานก่อสร้าง โดยเป็นผู้กำกับดูแลในทุกขั้นตอนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่ตั้งเป้าไว้ ภายใต้มาตรฐานระยะเวลาและงบประมาณที่กำหนด และยังต้องก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากที่ดินราชพัสดุอย่างคุ้มค่า นำรายได้เข้าสู่ภาครัฐ

ชื่อ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ธันวาคม ๒๕๕๐ หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Government Complex Commemorating His Majesty The King’s 80th Birthday Anniversary, 5th December, B.E. 2550 (2007)” นี้เป็นชื่อที่รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ธันวาคม ๒๕๕๐

โครงการศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ธันวาคม ๒๕๕๐ ได้ก่อสร้างเพื่อใช้เป็นสถานที่ทำการของหน่วยงานราชการ ที่ประกอบด้วยพื้นที่การค้า และพื้นที่ใช้สอยต่างๆ รวมถึงห้องประชุมในอาคาร B อาคารศูนย์ประชุมทรงกลม อาคารศูนย์ประชุมทรงเหลี่ยม รวมพื้นที่ทั้งหมดกว่า 32,000 ตารางเมตร และ อาคารโรงแรมที่มีห้องพักรองรับถึง 204 ห้อง โดยศูนย์ประชุมและโรงแรมศูนย์ราชการ เฉลิมพระเกียรติฯ แห่งนี้ จะบริหารภายใต้ชื่อ “Centra Government Complex Hotel and Convention Centre Chaeng Watthana”

สุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการ บริษัทโรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา กล่าวว่า การแถลงข่าวครั้งนี้เป็นไปตามประกาศของ ธพส. ในวันที่ 22 เมษายน 2554 ที่โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราได้รับการอนุมัติจากบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด หรือ ธพส. ให้เป็นผู้บริหารศูนย์ประชุมและโรงแรมศูนย์ราชการ เฉลิมพระเกียรติฯ แห่งนี้ เป็นการประกาศย้ำความเป็นผู้นำด้านโรงแรมของโรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา

สุทธิเกียรติกล่าวต่อไปว่า โครงการ Centra Government Complex Hotel and Convention Centre Chaeng Watthana โดยช่วงแรกจะเป็นช่วงตกแต่งเพิ่มเติมในส่วนของอาคารโรงแรม ในขณะที่อาคารศูนย์ประชุมที่ก่อสร้างแล้วเสร็จมากกว่าร้อยละ 90 จะเริ่มสร้างรายได้ให้ธพส. ในเร็วๆนี้ โดยทางเซ็นทาราจะเข้ารับบริหารเป็นระยะเวลา 3 ปี และคาดว่าจะสร้างรายได้จากโครงการนี้ไม่ต่ำกว่า 330 ล้านบาทในปีแรก 350 ล้านบาทในปีที่ 2 และ 370 ล้านบาทในปีที่ 3 ตามลำดับ โดยจะเน้นกลุ่มลูกค้าข้าราชการ 60-70%

ด้วยประสบการณ์ที่มีมานาน 30 กว่าปี ปัจจุบันเซ็นทาราได้ขยายและพัฒนาการรับบริหารโรงแรมทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งสิ้น 58 โรงแรม ด้วยจำนวนห้องพักรวมกว่า 9,800 ห้อง ซึ่งเป็นโรงแรมภายในประเทศทั้งสิ้น 44 โรงแรม และ ต่างประเทศอีก 14 โรงแรม โดยมีแบรนด์ทั้งหมด 6 แบรนด์ ได้แก่ แบรนด์สำหรับเซอร์วิส อพาร์ทเมนท์ 2 แบรนด์ และ แบรนด์สำหรับโรงแรมอีก 4 แบรนด์ได้แก่ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ โรงแรมเซ็นทารา โรงแรมเซ็นทารา บูติค คอลเลคชั่น และ โรงแรมเซ็นทรา ทั้งนี้แบรนด์เซ็นทราเป็นแบรนด์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่เน้นความคุ้มค่า โดยยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานในการให้บริการ รูปลักษณ์และการออกแบบของห้องพักจะเน้นแบบที่มีสีสันและทันสมัย ทั้งนี้โรงแรมเซ็นทราแห่งแรกได้เปิดบริการแล้วใน ป่าตอง ภูเก็ตและประสบความสำเร็จเกินคาด ซึ่งคาดว่า Centra Government Complex Hotel and Convention Centre Chaeng Watthana ก็จะได้ประสบความสำเร็จเกินคาดเช่นกัน

นอกเหนือจาก Centra Government Complex Hotel and Convention Centre Chaeng Watthana แล้ว เซ็นทารายังมีโรงแรมที่มี Convention centre อีก 6 แห่ง ได้แก่ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิล์ด โรงแรมโซฟิเทลเซ็นทาราแกรนด์กรุงเทพและบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์มิราจบีชรีสอร์ท พัทยา โรงแรมเซ็นทาราโฮเทล และ คอนเวนชันเซ็นเตอร์ อุดรธานี โรงแรมเซ็นทาราโฮเทล และ คอนเวนชันเซ็นเตอร์ ขอนแก่น และ โรงแรมเซ็นทาราดวงตะวันโฮเทล เชียงใหม่ ซึ่งถือได้ว่าเซ็นทาราเป็นผู้นำโรงแรมที่มีคอนเวนชัน เซ็นเตอร์มากที่สุดในประเทศเลยก็ว่าได้

รายละเอียดทั่วไป

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยใช้งบประมาณในโครงการทั้งสิ้น ประมาณ 20,000 ล้านบาทศูนย์ราชการฯ ตั้งอยู่ในที่ราชพัสดุ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร บนที่ดินประมาณ 349 ไร่ จะมีพื้นที่อาคารในโครงการรวมประมาณ 929,800 ตารางเมตร โดยแบ่งเป็น 3 โซน ดังต่อไปนี้

Zone A เนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ อยู่ด้านทิศเหนือ ติดถนน แจ้งวัฒนะซึ่งได้จัดสรรเป็นที่ตั้งของหน่วยงาน ด้านยุติธรรม

Zone B เนื้อที่ประมาณ 197 ไร่ อยู่ทางทิศใต้ ซึ่งจะเป็น ที่ตั้งของหน่วยงานอื่นๆ ประมาณ 23 หน่วยงาน

Zone C เนื้อที่ประมาณ 152 ไร่ อยู่ทางทิศตะวันออก เป็น พื้นที่สำหรับรองรับการขยายตัว และเป็นส่วนพักผ่อนสำหรับ โครงการ

ศูนย์ประชุม

ศูนย์ประชุมตั้งอยู่ภายในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ธันวาคม ๒๕๕๐ ประกอบด้วยอาคารศูนย์ประชุม1, อาคารศูนย์ประชุม2 และ ห้องประชุมส่วนกลางภายในอาคารรวมหน่วยราชการ (อาคาร B) มีรายละเอียดดังนี้

อาคารศูนย์ประชุม1

อาคารรูปทรงกลม พื้นที่รวมประมาณ 2,680 ตารางเมตร สูง 2 ชั้นตั้งอยู่กลางสระน้ำ บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือขออาคารรวมหน่วยราชการ ทางเข้าอาคารที่ชั้น1และทางเข้าบริเวณสะพานทางเชื่อมที่ชั้น2 ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อทางเดินกับบริเวณชั้น3 อาคารศูนย์ประชุม2

อาคารศูนย์ประชุม2

อาคารรูปทรงเหลี่ยม พื้นที่รวมประมาณ 27,293 ตารางเมตร สูง 5 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศเหนือของอาคารรวมหน่วยราชการ ทางเข้าอาคารที่ชั้น 1 ยกเว้นพื้นที่ส่วนสำนักงาน ธพส. พื้นที่ร้านค้า บริเวณชั้น1 อาคารศูนย์ประชุม

ห้องประชุมส่วนกลางภายในอาคารรวมหน่วยราชการ

ห้องประชุมส่วนกลางอยู่ในอาคารรวมหน่วยราชการ พื้นที่รวมประมาณ 2,585 ตารางเมตรตั้งอยู่ในบริเวณโถงด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศใต้ ของอาคารตั้งแต่ชั้น 3 ถึงชั้น 6

โรงแรม

อาคารโรงแรมตั้งอยู่ในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ธันวาคม ๒๕๕๐ ใช้เป็นที่พักให้บริการแก่ข้าราชการที่มาประชุมหรือปฏิบัติราชการ รวมทั้งให้บริการกับบุคคลภายนอก เป็นอาคารสูง 10 ชั้น มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 17,000 ตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่พาณิชย์ 4 ชั้น ตั้งแต่ชั้น 1-4 ประมาณ 9,200 ตารางเมตร และส่วนห้องพักชั้น 5-10 ประมาณ 7,800 ตารางเมตร ซึ่งจะประกอบไปด้วยห้องพักทั้งหมด 204 ห้อง แบ่งเป็นห้องธรรมดา 194 ห้อง และห้องสวีทอีก 10 ห้อง ทั้งนี้ยกเว้น พื้นที่ชั้น 2 และชั้น3 ที่ทางธพส. ได้จะนำมาดำเนินการพื้นที่เอง แต่หากธพส.ไม่ได้นำพื้นที่ดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ ให้ผู้บริหารสามารถแจ้งขอใช้พื้นที่ดังกล่าวต่อธพส.เพื่อให้ธพส.พิจารณาใช้พื้นที่นั้น