สุทธิคุณ กองทอง หนุ่ม

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มูลนิธิเยาวชนสัมพันธ์นานาชาติ ภูมิใจเสนอ “หมอโฮจุน เดอะมิวสิคัล”




มูลนิธิเยาวชนสัมพันธ์นานาชาติ ภูมิใจเสนอ “หมอโฮจุน เดอะมิวสิคัล”










จากบันทึกประวัติศาสตร์ที่เคยสร้างความประทับใจให้คุณมาแล้ว ขอเชิญทุกท่านร่วมสัมผัสความประทับใจอีกครั้ง กับเรื่องราวของหมอโฮจุนที่กลับมาในรูปแบบละครเพลง คุณจะได้พบกับบทเพลงอันซาบซึ้ง การร่ายรำอันงดงามตระการตา พร้อมทั้งแง่คิดในการใช้ชีวิต โดยเหล่านักแสดงและทีมงานจากประเทศเกาหลี
เรื่องราวของ โฮจุน ชายผู้เกิดมาภายใต้กรอบที่เรียกว่า “ลูกนอกสมรส” เขาใช้ชีวิตในวัยหนุ่มอย่างเสเพล ปล่อยเวลาผ่านไปอย่างสูญเปล่า ชีวิตของโฮจุนต้องเผชิญกับความยากลำบากมากมาย และเต็มไปด้วยความสิ้นหวัง อะไรทำให้ชายเสเพลโฮจุนคนนี้ กลับกลายเป็นหมอโฮจุนผู้เลื่องชื่อในประวัติศาสตร์ ขอเชิญมาร่วมค้นหาาคำตอบด้วยกันได้ที่ “หมอโฮจุน เดอะมิวสิคัล”
โดยรายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายจะนำไปสมทบทุนโครงการแพทย์อาสาในประเทศด้อยพัฒนา
กิจกรรมแพทย์อาสาเพื่อประเทศด้อยพัฒนา ทวีปแอฟริกา ดินแดนที่มีผู้ป่วยโรคต่างๆ ถึงกว่าร้อยละ 25 แต่กลับมีแพทย์อยู่เพียงร้อยละ 1.3 เท่านั้น!! ในแต่ละปี กว่าล้านชีวิตในแอฟริกาต้องตายด้วยโรคร้ายอย่างน่าเวทนา เช่น โรคเอดส์ มาลาเรีย เพียงเพราะไม่มีเงินแม้แต่หนึ่งดอลลาร์เพื่อจ่ายค่ารักษา มูลนิธิเยาวชนสัมพันธ์นานาชาติ มีความประสงค์จะนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย ไปมอบให้โครงการแพทย์อาสาในทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หมอโฮจุน เดอะมิวสิคัล - - - / 2 รอบการแสดง : ในวันเสาร์ที่ 15 และ อาทิตย์ที่ 16 มกราคม 2554 / หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย บัตรราคา 400/600/800/1000 ... ติดต่อซื้อบัตร : มูลนิธิเยาวชนสัมพันธ์นานาชาติ โทร.02-3781308 ...

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วัดหงส์ฯ จัดงานเทิดพระเจ้ากรุงธนบุรี ครบรอบ 229 ปี สมพระเกียรติ




วัดหงส์ฯ จัดงานเทิดพระเจ้ากรุงธนบุรี ครบรอบ 229 ปี สมพระเกียรติ วันที่ 28 ธันวาคม 2553 โทร.คุณเต้ 081-311-7401



















รายละเอียดกิจกรรมโครงการฯวันปราบดาภิเษก
กิจกรรมต่าง ๆ จัดมีขึ้น ในวันอังคาร ที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ ณ ศาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร ถนนอิสรภาพ ๒๘ (วังเดิม ๒) แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
เวลา ๐๖.๓๐ น. พิธีบวงสรวงสักการะ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช เวลา ๐๙.๐๐ น. นายจำนงค์ ภิรมย์ภักดีประธานกรรมการ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด เป็นประธานวางพานพุ่ม กล่าวเปิดงาน ข้าราชการ นักศึกษา นักเรียน และ ตัวแทนประชาชน ถวายเครื่องสักการะ เวลา ๑๐.๐๐ น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป สวดชยันโต มงคลชัยคาถา เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ อุทิศบุญกุศลถวาย สมเด็จพระเจ้ากรุง ธนบุรีมหาราช เวลา ๑๒.๐๐ น. ผู้เข้าร่วมโครงการรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน เวลา ๑๓.๐๐ น. ชมนิทรรศการเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช กิจกรรมย้อนรอยพระอารามหลวง (วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร) สมัย กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร ไหว้หลวงพ่อแสนศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อทองคำ โบราณ ชมความงามสถาปัตยกรรมครั้งในอดีต เวลา ๑๓.๓๐ น. มอบหนังสือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช เนื่องในวโรกาสครบรอบ ๒๒๙ ปี กับพระราชภารกิจทางโลก ให้กับสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ และผู้ร่วมบริจาค เวลา ๑๔.๓๐ น. ร่วมสนุกตอบปัญหาชิงรางวัล และประการผลผู้ชนะเรียงความพร้อม มอบรางวัล
เวลา ๑๖.๐๐ น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์สวดพระพุทธมนต์เย็น ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช เวลา ๑๙.๐๐ น. ชมการแสดง แสง สี เสียง จากทีมนักแสดงกรมศิลปากร เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน หนุมานเกี้ยวนางวานริน บทพระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรีมหาราช เวลา ๒๐.๐๙ น. ร่วมจุดเทียนชัย ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี

จบงานกิจกรรมเทิดพระเกียรติ

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช
แม้กาลเวลาล่วงเลยมาถึงวันนี้ ๒๒๙ ปีแล้วก็ตาม แต่พระนาม พระเกียรติคุณ พระมหากรุณาธิคุณ และพระอัจฉริยภาพของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยังดำรงคงอยู่ในใจของคนไทยเสมอมา เนื่องในวันปราบดาภิเษก หรือวันเสด็จขึ้นครองราชย์ ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร พร้อมด้วยคณะผู้จัดทำwww.phrachaokrungthon.com และคณะศรัทธา ได้ร่วมจัดกิจกรรมงานสมโภช เนื่องในวันสำคัญดังกล่าว เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงเสียสละชีวิต เพื่อกอบกู้ชาติแผ่นดินไทยให้พ้นจากความทาสของพม่าข้าศึก และทรงกอบกู้พระพุทธศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามให้คงอยู่คู่ชาติไทยตราบเท่าทุกวัน ปัจจุบัน ลูกหลานเหลนไทยจำนวนไม่น้อย หลงลืมพระวีรกรรมอันหาญกล้า และความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช ไปแล้ว เนื่องจากการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ในปัจจุบันตามสถานที่ศึกษาต่าง ๆ มีการเรียนการสอนเพียงเศษเสี้ยวของข้อมูลความรู้เท่านั้น จึงทำให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยซึมซับซาบซึ้งในคุณงามความดีที่พระองค์ทรงฝากไว้บนผืนแผ่นดินเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยพระองค์หนึ่ง ด้วยเป็นพระผู้ทรงกอบกู้เอกราชชาติไทย หลังเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ ให้กับพม่า ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๐ พระองค์ทรงสร้างสมสิ่งล้ำค่านานาประการ จึงอาจกล่าวได้ว่าผืนดินทุกตารางนิ้ว ที่พวกเราคนไทยได้ยืนหยัดเหยียบย่ำอย่างเต็มภาคภูมิ ได้อยู่อาศัยทำมาหาเลี้ยงชีพ จนมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีทรัพย์สินเงินทองมากมายเฉกเช่นทุกวันนี้ ก็ด้วยบรรพบุรุษของไทยเสียสละชีวิต หลั่งเลือดละเลงแผ่นดิน เพื่อปลดแอกชาติไทยให้คืนสู่อิสรภาพดังเดิม หากวันนั้นไม่มี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมาหาราช และบรรพชนผู้กล้าแล้วไซร้ วันนี้ก็คงไม่มีชื่อประเทศไทยปรากฎอยู่บนแผนที่โลก และพวกเราคนไทยก็คงมีวิถีชีวิตไม่ต่างไปจากชนกลุ่มน้อย เช่นเดียวกับ กระเหรี่ยง มูเซอ แม้ว มอญ ผีตองเหลือง ตามแนวตะเข็บชายแดนเป็นแน่แท้ และภาษาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ก็จะอันตรธานหายไปในที่สุด หรือบางทีอาจโชคดีหลงเหลือร่องรอยให้ได้ยินได้ฟังบ้างจากปากของพวกทาส บ่าวรับใช้ หรือกลุ่มคนชั้นล่างที่ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เนื่องในวโรกาสครบรอบ ๒๒๙ ปี วันปราบดาภิเษก นี้ วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร และคณะผู้จัดทำเว็บไซต์www.phrachaokrungthon.com พร้อมด้วย คณะศรัทธา จึงพร้อมใจกันจัดกิจกรรมงานสมโภชเฉลิมฉลอง โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานราชการ อาทิ กองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตธนบุรี ทั้งนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และประชาชนโดยทั่วไป เพื่อเป็นการน้อมรำลึกนึกถึง พระมหากรุณาธิคุณ พระเกียรติคุณ ด้วยการเผยแพร่พระราชประวัติ และพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระองค์สู่สาธารณะ โดยเฉพาะพระวีรกรรมอันหาญกล้าของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช และเหล่าทหารหาญ ที่ยอมพลีชีพเพื่อชาติ กอบกู้อิสรภาพให้กับชาติไทย เป็นการสะท้อนภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ออกมาในรูปแบบของการจัดนิทรรศการให้ความรู้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่เกิดสำนึกสาธารณะ มีความเสียสละ และรู้จักแบ่งปัน ซึ่งจะก่อให้เกิดกระแสการทำความดี มีความศรัทธาเชื่อมั่นในหลักธรรมคำสอนในศาสนานั้น ๆ และมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ร่วมสนุกตอบปัญหาชิงรางวัลมากมาย ประกวดเรียงความเรื่อง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชตามความรู้สึกของข้าพเจ้า และชมการแสดง แสง สี เสียง จากทีมนักแสดงกรมศิลปากร เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน หนุมานเกี้ยวนางวานริน บทพระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช


ายละเอียดเพิ่มเติม หรือว่าไปถึงงานแล้วรบกวนให้ติดต่อ
คุณเต้ 081-3117401

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ร้านอาหารเจ วาวา (อาหารเจเพื่อสุขภาพ) สุราษฎร์ธานี



ร้านอาหารเจวาวา
(อาหารเจเพื่อสุขภาพ)
ตั้งอยู่เลขที่ 220,222/3 อาคารสีเหลือง-ขาว เยื้องไก่ย่างจีรพันธ์ ตรงข้าม หจก.ไทยเชียงแสน ใกล้สถานีดับเพลิง ใกล้ศาลหลักเมือง ถ.หน้าเมือง อ.เมือง
จ.สุราษฎร์ธานี โทร 086-888-3999 โทรสาร 077-273-222
ติดต่อ คุณ สงวน แซ่โง้ว




ผู้ที่ศรัทธาร่วมบุญปฏิบัติธรรมวัตรทรงธรรมกัลยาณี ติดต่อสอบถามได้ที่ เลขที่ ๑๙๕ ถนนเพชรเกษมต.พระประโทนอ.เมืองจ.นครปฐม๗๓๐๐๐ โทร.๐-๓๔๒๕-๘๒๗๐

ร่วมกันสนับสนุน เพื่อขอเข้าชื่อ เสนอกฎหมาย ร่าง พรบ.สงฆ์​ (ฉบับที่ .....) พ.ศ........

กับ ภิกขุนีธัมมนันทา (ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์) เจ้าอาวาสวัตรทรงธรรมกัลยาณี






วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ส่งท้ายด้วยธรรม ต้อนรับด้วยศีล กิจกรรมแห่ง “สติ” ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี




สถาบันวิมุตตยาลัย จัดกิจกรรมส่งท้ายด้วยธรรม ต้อนรับด้วยศีล มุ่งเน้นกิจกรรมแห่ง “สติ” เพื่อส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นำความสดชื่นรื่นเย็นสู่ชีวิตในทุกขณะจิต

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ท่าน ว.วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย เปิดเผยว่า สถาบันวิมุตตยาลัย กำหนดจัด “งานส่งท้ายด้วยธรรม ต้อนรับด้วยศีล : สู่ความสดชื่นรื่นเย็นแห่งชีวิต ปี ๒๕๕๔” ขึ้น ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส สวนรถไฟ กรุงเทพฯ โดยนำเสนอการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ตามวิถีของชาวพุทธ ทั้งนี้ เทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ของทุกปี เราจะเน้นการเฉลิมฉลอง ซึ่งบรรยากาศของการเฉลิมฉลองเหล่านั้น เต็มไปด้วยอบายมุข มากไปด้วยความประมาท และไม่ได้ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์พัฒนาชีวิตที่ดีขึ้น สมกับการย่างเข้าสู่เทศกาลของปีใหม่ พระอาจารย์จึงอยากนำเสนอวิธีการเฉลิมฉลองปีใหม่ให้ต่างออกไปตามวิถีของชาวพุทธ

ท่าน ว.วชิรเมธี กล่าวว่า “การเฉลิมฉลองเทศกาลในปีนี้นั้น ขอให้เรามุ่งไปที่

หนึ่ง การทบทวนงบดุลชีวิตของตนเองว่าในรอบปีที่ผ่านมาเราได้กำไรหรือขาดทุน

สอง แทนที่จะเป็นเทศกาลแห่งอบายมุข ขอให้เป็นเทศกาลของการให้ ให้ตนเองได้ปฏิบัติธรรม ให้ตัวเองได้ทำอะไรดี ๆ ให้กับมารดา บิดา ญาติวงศ์พงศากัลยาณมิตร ผู้มีพระคุณ ให้ตัวเองได้ย้อนกลับมาดูแลสุขภาพกายสุขภาพจิต และให้ตัวเองได้มีธรรมะนำทาง

กิจกรรมการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ด้วยธรรม เป็นการเรียนรู้ศิลปะในการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันกัน เช่น การเจริญสติในชีวิตประจำวัน เพื่อที่จะคืนความสดชื่นรื่นเย็นให้ทั้งกายและทั้งใจของเรา ต้อนรับด้วยศีล ขอให้เรารู้จักวางแผนชีวิตให้มีวินัย ไม่ใช่ปล่อยชีวิตในแต่ละปีให้ผ่านไปตามยถากรรม ปีแล้วปีเล่าที่ไม่มีอะไรใหม่ ๆ เกิดขึ้น ตั้งใจครั้งแล้วครั้งเล่าก็ไม่เคยเกิดผลเป็นรูปธรรม”

ภายในงานได้มีการแนะนำศิลปะในการส่งท้ายด้วยธรรม ต้อนรับด้วยศีล เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานเรียนรู้ถึงการก้าวข้ามสู่ปีใหม่อย่างมีสติ และให้มีชีวิตใหม่อย่างมีความหวัง อันจะทำให้ชีวิตมีแต่ความสดชื่นรื่นเย็น หลักง่าย ๆ ของงานนี้คือ เพื่อให้เราเรียนรู้จากอดีต กำหนดปัจจุบัน สร้างสรรค์อนาคต ให้ถูกต้อง เมื่อเราทำตามนี้ สามารถมั่นใจได้ว่า ปีนี้จะดีกว่าปีที่แล้ว และปีหน้าก็จะดีกว่าปีนี้อย่างแน่นอน

กิจกรรมภายในงานแบ่งออกเป็น ๔ กิจกรรมหลัก ดังนี้

กิจกรรมที่หนึ่ง การสวดมนต์ ๙ บท เพื่อความ ๙ (ก้าว) หน้า โดยมุ่งเน้นการสวดมนต์ เพื่อให้ได้สติปัญญา และสามารถใช้เป็นเข็มทิศนำทางการดำเนินชีวิต โดยคัดเลือกเอามนต์ทุกบทที่ล้วนแล้วเป็นแก่นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสวด เช่น บทกาลามสูตร เป็นบทสวดเพื่อให้มีปัญญา บทมงคลสูตร สวดเพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นมงคลแท้ มงคลเทียม ปัพพโตปมสูตร สวดเพื่อให้รู้ว่าเราจะเตรียมรับมือกับความตายได้อย่างไร โพชฌงคสูตร สวดเพื่อให้เรารู้ว่าเราจะดูแลตนเอง เพื่อให้สุขภาพจิตก็สดใส สุขภาพกายก็สมบูรณ์ได้อย่างไร นี่คือศิลปะของการสวดมนต์ เมื่อสวดเป็นก็เห็นธรรม นอกจากนี้ ทุกคนที่มาร่วมงานจะได้รับหนังสือสวดมนต์ ๙ บทเพื่อความ ๙ (ก้าว) หน้าด้วย

กิจกรรมที่สอง การสอนศิลปะของการเจริญสมาธิในชีวิตประจำวัน ศิลปะของการเจริญอานาปานสติ หรือการเจริญสมาธิประจำวันแบบง่าย ๆ เพื่อคืนความสดชื่นรื่นเย็นให้กับชีวิต ตลอดจนเรียนรู้ที่จะมีนิพพานระหว่างวัน เปรียบได้กับการรดน้ำพรวนดินเมล็ดพันธุ์แห่งความสุข เมล็ดพันธุ์แห่งสติ เมล็ดพันธุ์แห่งความสดชื่นรื่นเย็นให้แก่ตัวเองทุกต้นชั่วโมง ท่ามกลางความกดดัน ความเครียด การแก่งแย่งแข่งขันที่สูงยิ่งขึ้นทุกที เวลาที่แบ่งให้กับครอบครัวที่น้อยลง ใช้เวลาเกือบทั้งหมดในการทำงาน หากคนไทยใช้กลวิธีเช่นนี้ ชีวิตจะเข้าสู่โหมดของความสมดุล ดังที่ว่า “งานก็สัมฤทธิ์ ชีวิตก็รื่นรมย์”

กิจกรรมที่สาม กิจกรรมเสวนาเปิดตัว ส.ค.ส.ชุดจตุรพลัง พลังทั้ง ๔ เพื่อความสวัสดีของสังคมไทย นั่นคือ

๑. พลังแห่งปัญญา ไม่เชื่อต้องศึกษา ไม่มีปัญญาต้องเรียนรู้ เพราะปกติคนไทยจะเน้นว่า ไม่เชื่ออย่าลบหลู่

๒. พลังความเพียร พึ่งความเพียรของตน ดีกว่าพึ่งการบนเทวดา ซึ่งจะเน้นไปที่การพึ่งตนสำคัญกว่าการบนบานศาลกล่าวเทวดา คนไทยทุกวันนี้ นับถือเทพกันมาก แต่เราเคยสังเกตกันบ้างหรือไม่ เทพกระจายกันเกลื่อนบ้านเกลื่อนเมือง แต่ทำไมเมืองไทยจึงกลายเป็นเมืองที่อุดมไปด้วยวิกฤติทั่วทุกวงการ นั่นมิใช่สิ่งที่สะท้อนบอกเราอยู่แล้วในทีหรือว่า คุณเอาแต่พึ่งเทพ บ้านเมืองก็จะยิ่งวิกฤติ แต่หากคุณหันมาพึ่งตนเองมากกว่า เมืองไทยก็จะรอดเมื่อนั้น ตามหลักที่ว่า อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน

๓. พลังความสุจริต ทำมาหากินอย่างสุจริต ดีกว่าหลงผิดคอรัปชั่น

๔. พลังความสามัคคี ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันนำประเทศไทยพ้นวิกฤติ

พลังทั้ง ๔ นี้หยิบมาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสว่า พลังทั้งสี่นี้ ถ้าใครมีก็พ้นวิกฤต นอกจากนี้ ยังมีการอภิปรายมุมมองสังคมไทยในรอบปีที่ผ่านมาว่ามีบทเรียนอะไรบ้าง และจะมองไปข้างหน้าอย่างมีความหวังได้อย่างไร เพื่อให้คนไทยเรียนรู้ที่จะรับมือกับปีหน้าได้อย่างมีความหวังในทุกมุม เช่น การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนา สังคม และค่านิยมของสังคมไทย ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ด้วยมุมมองทางธรรม

กิจกรรมที่สี่ กิจกรรมธรรมะคลีนิก ภายใต้ชื่อวา “ถามจากสมอง ตอบจากหัวใจ” ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถร่วมสนทนาธรรม ถือเป็นการจ่ายยาธรรมะโอสถให้กับผู้ที่สนใจใฝ่ธรรม สนใจใคร่รู้อยากจะแก้ปัญหาชีวิตด้วยธรรมะ สามารถลงทะเบียนได้ที่ธรรมะคลีนิก

สำหรับผู้ที่เข้าร่วมงาน สามารถเข้าร่วมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ พร้อมรับ ส.ค.ส.สื่อความสุข ๙,๙๙๙ ชุด เช่น หนังสือธรรมะแห่งปีชุดพิเศษ “๙ เล่มเพื่อความก้าว (๙) หน้า” ซีดีธรรมะชุดพิเศษ “๙ เรื่อง เพื่อความก้าว (๙) ไกล” ปฏิทินปฏิธรรม “๙,๙๙๙ ชุด เพื่อความก้าว (๙) สุข”

ท่าน ว.วชิรเมธี กล่าวปิดท้ายเชิญชวนประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมงาน “ส่งท้ายด้วยธรรม ต้อนรับด้วยศีล : ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่สไตล์ชาวพุทธ” ร่วมกันมองไปข้างหน้าอย่างมีความหวัง มองไปข้างหลังอย่างมีบทเรียน

ผู้ที่สนใจกิจกรรมของสถาบันวิมุตตยาลัย สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ www.dhammatoday.com หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐๒ ๔๒๒ ๙๑๒๓, ๐๘๑ ๘๘๙ ๐๐๑๐, ๐๘๙ ๘๙๓ ๒๑๓๖, ๐๘๗ ๐๘๐ ๗๗๗๙

***************************************************

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ฟ้ากว้าง ทะเลใกล้ (The Sky so near)




เขียนไทย แปลอังกฤษ ให้ฝรั่งอ่าน


กฤษณา อโศกสิน ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ (นวนิยาย) รศ.ดร.ปราณี ศิริจันทพันธ์ นักแปลและล่ามอาวุโสดีเด่น “รางวัลสุรินทราชา” และ ศ.ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ​ ร่วมเปิดตัวหนังสือ ฟ้าใกล้ ทะเลกว้าง ที่เขียนไทย แปลอังกฤษ ให้ฝรั่งอ่าน THE SKY SO NEAR โดย อ.เพ็ญศรี เคียงศิริ เจ้าของนามปากกา “นราวดี” ณ​ ลานกิจกรรม ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชั้น จามจุรีสแควร์













ฟ้ากว้าง ทะเลใกล้ (The Sky so near)

นวนิยาย 5 ชั่วอายุคน ที่เกิดขึ้นในช่วง รัชสมัยของรัชกาลที่ 5-6 ซึ่งเป็นยุคล่าอานานิคมของชาวตะวันตก เรื่องราวเล่าถึง เมื่ออังกฤษได้ล่าเมืองขึ้น จนได้รัฐมลายูไป พร้อมกับสี่หัวเมืองของไทยคือ รัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรีและเปรัค ในสมัยนั้นสัมพันธภาพของกลุ่มชนทางตอนใต้ของประเทศไทย ที่มีชาวไทย ชาวจีน และชาวมาเลในรัฐกะลันตัน อยู่กันอย่างสงบสุข ท่ามกลางการผสมผสานของขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทยภาคใต้และชาวมาเลฯตอนเหนือ ก่อให้เกิดวัฒนธรรมประเพณีที่อบอุ่นและทรงคุณค่า สร้างข้อคิด ปรัชญา สุภาษิตไว้มากมาย

แต่แล้วเมื่อผลประโยชน์และความกระหายอยากในอำนาจเข้าครอบงำ เหล่าข้าราชการ ทำให้เกิดการคอรัปชั่นขึ้นมากมาย เป็นชนวนที่สำคัญ ที่ทำให้เกิดความแตกแยก ของความสัมพันธ์ที่สวยงามของคนไทยและชาวกะลันตัน จนไม่สารถที่สมานกลับคืนได้ดังเดิม

ผลงานแปลและงานเขียนในภาษาอังกฤษ

ของ เพ็ญศรี เคียงศิริ (นราวดี)

ปี 1972 ถึง 1976 เขียนคอลัมน์ This Precious Life ลงใน

Bangkok World ทุกสัปดาห์ เป็นเวลาสี่ปีเต็ม

เป็นบทความแบบสั้นๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ทั่วไป

ที่เกิดขึ้นและน่าสนใจ คือ current events

ปี 1978 – 1979 เขียน บทความสะท้อนสังคม และเกี่ยวกับ

ความคิด และชีวิตชาวไทย เช่น The Choosing of Thai Names ลงใน Bangkok Post เดือนละสองเรื่อง

3. ปี 1978 – 1980 เขียนบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ลงในSawasdee วารสารของ Thai International Airways ตัวอย่าง เช่น “Thai Proverbs” “Thailand Yesterday and Today”

4. ปี 1975 แปลเรื่องสั้นสามเรื่อง ที่เขียนในนาม นราวดี ชื่อ ท้อ กุลีท่าเรือ และ แม่ยังไม่ตาย โดยให้ชื่อว่า Taw, One Good Turn และ My Mother Is Not Dead มอบให้ Professor Yoe จากมหาวิทยาลัยที่ Singapore ให้ Heinemann Educational Books พิมพ์ เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของนักศึกษา ได้ติดต่อรวบรวมเรื่องสั้นให้จากนักเขียนไทย เช่นของ เทพ และถนอม มหาเปารยะ เรียมเอง วิลาศ มณีวัต สุวรรณี สุคนธา และ ภราดร ศักดา Professor Yoe ตั้งชื่อหนังสือว่า Taw and Other Thai Short Stories.

5. ปี 1981 Professor Yoe รวบรวม ASEAN Short Stories ให้Heinnemann พิมพ์ และขอเรื่องสั้นมาอีก

เพ็ญศรี เคียงศิริ แปลเรื่องสั้น ผู้ใหญ่อ่วมไปบางกอกของเธอให้ และติดต่อจัดส่งเรื่องสั้นของนักเขียนไทยอีกสามคนด้วย เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของนักเขียนไทยต่อไป

การจัดพิมพ์เล่ม

Poems from Thailand

ปรากฏว่าขายดีมาก ผู้จัดการใหญ่โรงแรม ออร์คิดเชราตัน ซื้อ 500 เล่มสำหรับแจกแขกวีไอพี ซึ่งหลายคนอ่านแล้วชอบ และเขียนจดหมายกลับมาชมบทกวี เรื่อง Before My Eyes Grow Dim ในเล่มนี้ เข้าประกวดระดับโลกในปี 1955 ได้เข้ารอบสุดท้ายและได้รับการพิมพ์ในหนังสือประจำปีของผู้จัดประกวด (สมาคมห้องสมุดในอเมริกา) ชื่อหนังสือ Songs on the Wind (มหาวิทยาลัยต่างๆในอเมริกาซื้อเข้าห้องสมุดทุกปี)นอกจากนี้ Bethany Foundation (ดูแลคนสูงอายุ) ในWashington ได้ขอเรื่องนี้กับ เรื่อง Pretty Flowers และ Grandmother to Child About Love ไปพิมพ์ในหนังสือเชิญชวนผู้คนให้บริจาคช่วยมูลนิธิ

Buddhist Ways to Overcome Obstacles.

แปลจากเรื่อง วิธีใช้ธรรมชนะอุปสรรค ได้แพร่ไปสู่หลายประเทศ

Thailand – Revealing Perspectives

เป็นการนำบทความสิบเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย จาก ที่เขียนให้ Thai International Airways มารวมเล่ม การท่องเที่ยงแห่งประเทศไทยซื้อหลายร้อยเล่มส่งไปตามสาขาต่างประเทศของการท่องเที่ยว (ใช้ในการประชาสัมพันธ์) ต่อมา วารสาร Austasia ที่ออสเตรเลียติดต่อเช่าลิขสิทธิ์ไปพิมพ์สองเรื่อง

Love in the Fish Market

เขียนใมนาม นราวดี ซึ่งเพ็ญศรี เคียงศิริ เจ้าของเรื่องแปลเอง ต่อมา สนพ. ใน Switzerland เช่าลิขสิทธิ์ไปพิมพ์เป็นภาษาเยอรมัน ออกจำหน่ายทั่วโลกตั้งแต่กลางปี 2550

Arrival Of Dawn หรือ ฟ้าสางที่กลางใจ

นวนิยายสองรางวัล ที่ได้รับการคัดสรรให้เป็นเรื่องที่เด็กและเยาวชนควรอ่านด้วย เพ็ญศรี เคียงศิริแปล ประพันธ์สาส์นเป็นผู้จัดพิมพ์ ผู้เขียนและผู้แปล ซึ่งเป็นคนๆเดียวกัน (ขอขอบคุณคุณอาทรไว้ใน ที่นี้ อีกครั้งหนึ่ง)

งานที่ได้รับเชิญให้แปล เขียน และเป็นบรรณาธิการ

แปลวรรณกรรมอมตะเรื่อง พระอภัยมณี

ให้สำนักงานคณะกก.วัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช) ซึ่งจะมี 12 เล่มด้วยกัน ทีมงานมีห้าคน

แปลบทละคร เรื่องหัวใจทอง ของ .. ปิ่น มาลากุล

ซึ่งได้รับมอบหมายโดยกระทรวงศึกษาธิการ

เขียน มารยาทสังคมไทย ให้ สวช

โดยมีนักวิชาการอีกสองคนร่วมเขียนด้วย ส่วนที่เขียน คือ Table Manners และ Everyday Etiquette (เล่มนี้มีการพิมพ์ซ้ำหลายครั้งแล้ว)

ร่วมทำหนังสือให้สำนักงานเอกลักษณ์ของชาติ

โดยมี ดร. สุวิทย์ ยอดมณี เป็นประธานคณะกรรมการ หนังสือชื่อ Tsunami และ Thailand – Traits and Treasures สำหรับเล่มหลังนี้ ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในห้าบรรณาธิการด้วย

ปัจจุบัน

แปลเพลง ภาษาอังกฤษเป็นไทย และเพลงไทยเป็นภาษาอังกฤษ ในคอลัมน์สอนภาษา ชื่อ

เพลินเพลง เก่งอังกฤษ ลงพิมพ์ทุกสัปดาห์ใน สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ปีนี้เป็นปีที่3 แล้ว

2. กำลังแปล พระอภัยมณี ต่อไป

รางวัลต่างๆที่ได้รับ

จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ เรื่อง ฟ้าใกล้ทะเลกว้าง .. 2538

ฟ้าสางที่กลางใจ .. 2542

รางวัลครอบครัวประชาธิปไตยตัวอย่างจาก สนง. เอกลักษณ์ของชาติ .. 2542

จาก เซเว่นบุคส์อวอร์ดส์ ฟ้าสางที่กลางใจ .. 2546

รางวัลผู้มีอุปการคุณต่อสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย .. 2550

รางวัลสุรินทราชาในฐานะนักแปลดีเด่น .. 2551

รางวัลแม่ดีเด่น .. 2552

รางวัลสตรีไทยดีเด่น .. 2552

ประวัติผู้ร่วมเสวนา

รองศาสตราจารย์ ดร.ปราณี ศิริจันทพันธ์
นักแปลและล่ามอาวุโสดีเด่น รางวัลสุรินทราชา..๒๕๕๓

อักษรศาสตรบัณฑิต (ฝรั่งเศส,อังกฤษ,ประวัติศาสตร์)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Dip. in Teaching French (Paris University)
Ph.D. in History (Paris University)

CREATOR: gd-jpeg v1.0 (using IJG JPEG v62), quality = 85

ประวัติผู้ดำเนินรายการ

ศาสตราจารย์ ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร

ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติการศึกษา

2535 Ph.D. (Comparative Literature) University of Michigan-Ann Arbor

2530 อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วรรณคดีไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2521 อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาและวรรณคดีไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2516 อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลงานด้านบริหาร

2550 - 2552 ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดี

และวรรณคดีเปรียบเทียบ

2550 - 2552 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา

(หลักสูตรนานาชาติ)

บทความ

2548 “นางฟ้าของศรีบูรพา: ภาพลักษณ์ตัวละครสตรีในนวนิยายของศรีบูรพาศิลปวัฒนธรรม,

2548 “พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก: เรื่องเล่า ชนเผ่าไทวารสารไทยศึกษา ปีที่ 1 ฉบับที่ 1

2547 “พัฒนาการนวนิยายของศรีบูรพาวารสารภาษาและหนังสือ, 2547

2547 “เที่ยวแดนพรับพรี สดุดีพระจอมเกล้าฯเนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 652, 29 พฤศจิกายน 2547

2547 “ซีไรต์: มากกว่ารางวัลคือสายสัมพันธ์วรรณกรรมอาเซียนเนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 644 2547 “กลอนสวด: วรรณคดีที่โลกลืมเนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 637, 16-22 สิงหาคม 2547

2547 “สองศตวรรษหมอบรัดเลย์: ผู้บุกเบิกการแพทย์และการพิมพ์แบบตะวันตกในสังคมไทย

เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 630, 28 มิถุนายน - 4 กรกฎาคม 2547

ตำรา

2545 วรรณคดีเปรียบเทียบ: กระบวนทัศน์และระเบียบวิธี. กรุงเทพฯ

: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2542 นวนิยายกับสังคมไทย พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์, 2542. พิมพ์ครั้งที่ 1 2533. ฉบับแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นโดย Prof. Toshiharu Yoshikawa, 1980.

2538 การใช้ภาษา เขียนร่วมกับคณาจารย์ภาควิชาภาษาไทย กรุงเทพฯ : ศึกษิตสยาม

2526 เอกสารการสอนชุดการใช้ภาษาไทย กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 11

กระบวนการอ่านเพื่อความรอบรู้ หน่วยที่ 12 การพัฒนาสมรรถภาพในการเขียนหนังสือ

2548 คืออิสสรชน คือคนดี คือศรีบูรพา. คณะกรรมการ 100 ปี ศรีบูรพา. เมษายน 2548.

ผลงานด้านอื่นๆ

2551 กรรมการพิจารณาตัดสินการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี .. 2551

2550 ผู้นำการเสวนาเรื่อง "รื้อสร้างไร้กรอบทะลุพรมแดน" ภายใต้โครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย

หัวข้อ "รื้อเวทีวิจัย...สร้างวิจัยบนเวทีละคร" จัดโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงาน

กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กลุ่มงานมนุษยศาสตร์ ในวันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน 2550

2550 กรรมการตัดสินรางวัลซีไรท์ ประจำปี 2550

กรรมการตัดสินการประกวดบทวิจารณ์วรรณกรรมดีเด่น กองทุนม..บุญเหลือ เทพยสุวรรณ

2550 กรรมการฝ่ายวิชาการ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการระดับอนุภูมิภาคเอเชีย เรื่อง มรดกร่วมทาง

วัฒนธรรม- เชิงนามธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

ฯลฯ